นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า นโยบายการลอยตัวก๊าซแอลพีจี ในเดือนกรกฎาคมของรัฐบาลนั้น จะมีผลกระทบที่เกิดชัดเจน คือ ผู้ประกอบการมีภาระมากขึ้น โดยเฉพาะ 2 กลุ่มคือ อุตสาหกรรมหลัก ที่เกือบทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) คือ อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมแก้ว และกระจก ซึ่งเฉพาะที่ลำปาง มีอยู่ถึง 300 ราย ต้องใช้แอลพีจี เป็นสัดส่วนถึง 25-40 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนทั้งหมด
ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลเลื่อนการลอยตัวราคาแอลพีจีออกไปก่อน และให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว 3 ปี เพราะในอดีตผู้ประกอบการใช้น้ำมันเตาในการผลิต รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้แอลพีจีแทน แต่ขณะนี้กลับมีนโยบายลอยตัวแอลพีจี อิงตามกลไกราคาตลาดโลก ซึ่งราคาที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทันแน่นอน ดังนั้น ระหว่างที่เลื่อนการลอยตัวออกไป ต้องการให้รัฐบาลหามาตรการดูแลผู้ประกอบการ หาพลังงานทดแทนชนิดอื่นที่มีราคาเท่ากัน ให้ผู้ประกอบการใช้ หรือมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร
ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลเลื่อนการลอยตัวราคาแอลพีจีออกไปก่อน และให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว 3 ปี เพราะในอดีตผู้ประกอบการใช้น้ำมันเตาในการผลิต รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้แอลพีจีแทน แต่ขณะนี้กลับมีนโยบายลอยตัวแอลพีจี อิงตามกลไกราคาตลาดโลก ซึ่งราคาที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทันแน่นอน ดังนั้น ระหว่างที่เลื่อนการลอยตัวออกไป ต้องการให้รัฐบาลหามาตรการดูแลผู้ประกอบการ หาพลังงานทดแทนชนิดอื่นที่มีราคาเท่ากัน ให้ผู้ประกอบการใช้ หรือมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร