ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย ว่า ขณะนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และกระจายไปทุกจังหวัด
ข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน ล่าสุด ในเดือนมีนาคม 2553 มีกว่า 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านระบบการตรวจสุขภาพ หากระบบการควบคุมป้องกันโรคไม่ดีพอ ต่างด้าวอาจนำโรคมาแพร่สู่คนไทยได้ง่ายขึ้น โดยสำนักระบาดวิทยาได้รายงานผลการเฝ้าระวังโรคติดต่อในกลุ่มต่างด้าว โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงชั่วคราวชายแดนไทย-พม่า และแนวชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา พบว่าโรคที่เป็นปัญหาในกลุ่มคนต่างด้าว 3 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มาลาเรีย และโรคหัด ในปีที่ผ่านมาพบมีแรงงานผู้ป่วยรวมกว่า 10,000 ราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์โรคที่เกิดในต่างด้าว พบว่ามีความสอดคล้องกับการเกิดโรคในประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จะเกี่ยวพันกับการพบโรคอหิวตกโรคในจังหวัดชายฝั่งหลายแห่ง ในปี 2552 และระบาดต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ใน 43 จังหวัด
ทั้งนี้ มีมาตรการป้องกัน 4 มาตรการ คือ นายจ้างต้องพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อค้นหาโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนทั้งหมด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีท่าเรือประมง ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อุจจาระร่วงเฉียบพลันอย่างใกล้ชิด หากพบแนวโน้มสูงขึ้นให้ส่งเชื้อตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจจับเชื้ออหิวาตกโรค และควบคุมให้ได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นท่าเรือประมง มีแรงงานต่างด้าวมาก ต้องเน้นความสะอาด ตรวจระดับคลอรีนคงค้างในน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กไทยอายุ 9 เดือน-12 ปี และเด็กต่างด้าวทุกคน ให้ครอบคลุมมากที่สุด
ข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน ล่าสุด ในเดือนมีนาคม 2553 มีกว่า 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านระบบการตรวจสุขภาพ หากระบบการควบคุมป้องกันโรคไม่ดีพอ ต่างด้าวอาจนำโรคมาแพร่สู่คนไทยได้ง่ายขึ้น โดยสำนักระบาดวิทยาได้รายงานผลการเฝ้าระวังโรคติดต่อในกลุ่มต่างด้าว โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงชั่วคราวชายแดนไทย-พม่า และแนวชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา พบว่าโรคที่เป็นปัญหาในกลุ่มคนต่างด้าว 3 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มาลาเรีย และโรคหัด ในปีที่ผ่านมาพบมีแรงงานผู้ป่วยรวมกว่า 10,000 ราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์โรคที่เกิดในต่างด้าว พบว่ามีความสอดคล้องกับการเกิดโรคในประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จะเกี่ยวพันกับการพบโรคอหิวตกโรคในจังหวัดชายฝั่งหลายแห่ง ในปี 2552 และระบาดต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ใน 43 จังหวัด
ทั้งนี้ มีมาตรการป้องกัน 4 มาตรการ คือ นายจ้างต้องพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อค้นหาโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนทั้งหมด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีท่าเรือประมง ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อุจจาระร่วงเฉียบพลันอย่างใกล้ชิด หากพบแนวโน้มสูงขึ้นให้ส่งเชื้อตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจจับเชื้ออหิวาตกโรค และควบคุมให้ได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นท่าเรือประมง มีแรงงานต่างด้าวมาก ต้องเน้นความสะอาด ตรวจระดับคลอรีนคงค้างในน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กไทยอายุ 9 เดือน-12 ปี และเด็กต่างด้าวทุกคน ให้ครอบคลุมมากที่สุด