เอเอฟพี - บังกลาเทศเตรียมทดลองวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ชนิดรับประทาน ราคาถูก ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกพรุ่งนี้ (17) หากประสบผลสำเร็จ วัคซีนดังกล่าวสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้จำนวนมหาศาลในแต่ละปี กระทรวงสาธารณสุขบังกลาเทศ แถลง
องค์การอนามัยโลก ประเมินไว้ว่า ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้ออหิวาตกโรคมากถึง 5 คนทั่วโลก ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 120,000 คนทุกปี แม้ว่าวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ชนิดรับประทาน สามารถผลิตได้มานานแล้ว แต่ตัววัคซีนดังกล่าวมีราคาแพงมาก เกินกว่าที่จะจัดหาให้ประชากรทั่วโลกได้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขบังกลาเทศ ระบุ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง 240,000 คน ในย่านมีรปุระ หนึ่งในชุมชนยากจนที่สุดในกรุงธากา โดยกลุ่มตัวอย่างจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สองกลุ่มแรกจะได้รับวัคซีน 2 ขนาน ซึ่งเป็นชนิดรับประทาน และมีราคาถูกจากการผลิตของอินเดีย ส่วนกลุ่มชาวบ้านที่เหลืออีก 800,000 คนจะไม่ได้รับวัคซีนชนิดรับประทาน ทั้งหมดจะได้รับการติดตามผลจากนี้ไปอีก 4 ปี
ผลการศึกษาจะเป็นตัวพิสูจน์ ว่า วัคซีนดังกล่าวจะได้รับการผลิตจำนวนมากขึ้นด้วยการสนับสนุนของรัฐหรือไม่ และมีความเป็นไปได้ที่ผลการวิจัยนี้จะได้รับความสนใจจากประเทศยากจนอื่นๆ อาทิ เฮติ ซึ่งเพิ่งเกิดอหิวาต์ระบาด และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 4,000 ราย
“การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองวัคซีนอหิวาต์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก” นาสมีน อาร์เหม็ด เจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาโรคอุจจาระร่วงนานาชาติแห่งบังกลาเทศ (ไอซีดีดีอาร์บี) ซึ่งดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกับรัฐบาล ระบุ
“หากผลออกมาสมบูรณ์จะสามารถช่วยรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งกำลังประสบปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข ให้สามารถผลักดันการให้วัคซีนกับประชาชนจำนวนมากได้”
ศูนย์ศึกษาโรคอุจจาระร่วงนานาชาติแห่งบังกลาเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1960 ในขณะที่อหิวาตกโรคยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของชาวบังกลาเทศ
นาสมีน อาร์เหม็ด กล่าวว่า ทางสถาบันเลือกดำเนินการวิจัยในย่านมีรปุระ เนื่องจากผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 4 ที่เข้ารับการรักษาจากคลีนิกของไอซีดีดีอาร์บี ในแต่ละปีล้วนมาจากชุมชนยากจนดังกล่าว
สภาพสุขอนามัยที่ย่ำแย่ การขาดแคลนน้ำสะอาด และพื้นที่ชุมชนแออัดในย่านมีรปุระ ทำให้เกิดการระบาดอหิวาตกโรคอยู่ไม่ขาดสาย
องค์การอนามัยโลก ประเมินไว้ว่า ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้ออหิวาตกโรคมากถึง 5 คนทั่วโลก ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 120,000 คนทุกปี แม้ว่าวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ชนิดรับประทาน สามารถผลิตได้มานานแล้ว แต่ตัววัคซีนดังกล่าวมีราคาแพงมาก เกินกว่าที่จะจัดหาให้ประชากรทั่วโลกได้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขบังกลาเทศ ระบุ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง 240,000 คน ในย่านมีรปุระ หนึ่งในชุมชนยากจนที่สุดในกรุงธากา โดยกลุ่มตัวอย่างจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สองกลุ่มแรกจะได้รับวัคซีน 2 ขนาน ซึ่งเป็นชนิดรับประทาน และมีราคาถูกจากการผลิตของอินเดีย ส่วนกลุ่มชาวบ้านที่เหลืออีก 800,000 คนจะไม่ได้รับวัคซีนชนิดรับประทาน ทั้งหมดจะได้รับการติดตามผลจากนี้ไปอีก 4 ปี
ผลการศึกษาจะเป็นตัวพิสูจน์ ว่า วัคซีนดังกล่าวจะได้รับการผลิตจำนวนมากขึ้นด้วยการสนับสนุนของรัฐหรือไม่ และมีความเป็นไปได้ที่ผลการวิจัยนี้จะได้รับความสนใจจากประเทศยากจนอื่นๆ อาทิ เฮติ ซึ่งเพิ่งเกิดอหิวาต์ระบาด และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 4,000 ราย
“การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองวัคซีนอหิวาต์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก” นาสมีน อาร์เหม็ด เจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาโรคอุจจาระร่วงนานาชาติแห่งบังกลาเทศ (ไอซีดีดีอาร์บี) ซึ่งดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกับรัฐบาล ระบุ
“หากผลออกมาสมบูรณ์จะสามารถช่วยรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งกำลังประสบปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข ให้สามารถผลักดันการให้วัคซีนกับประชาชนจำนวนมากได้”
ศูนย์ศึกษาโรคอุจจาระร่วงนานาชาติแห่งบังกลาเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1960 ในขณะที่อหิวาตกโรคยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของชาวบังกลาเทศ
นาสมีน อาร์เหม็ด กล่าวว่า ทางสถาบันเลือกดำเนินการวิจัยในย่านมีรปุระ เนื่องจากผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 4 ที่เข้ารับการรักษาจากคลีนิกของไอซีดีดีอาร์บี ในแต่ละปีล้วนมาจากชุมชนยากจนดังกล่าว
สภาพสุขอนามัยที่ย่ำแย่ การขาดแคลนน้ำสะอาด และพื้นที่ชุมชนแออัดในย่านมีรปุระ ทำให้เกิดการระบาดอหิวาตกโรคอยู่ไม่ขาดสาย