นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงความสำเร็จตามแผนปฏิรูปกรมศุลกากร ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ตนเองได้ริเริ่มขึ้นภายใต้แผนปฏิรูปกรมศุลกากร กว่า 1 ปีครึ่ง เป็นการกระทำในวงกว้างและครอบคลุมที่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่อให้กรมศุลกากรมีความโปร่งใสมากขึ้น ผู้ประกอบการสามารถติดต่อหรือทำธุรกรรมง่ายขึ้น รวมทั้งเพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถช่วยให้ประเทศไทยแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปี 2558 โดยวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ จะนำร่างแก้ไขกฎหมายศุลกากร ฉบับใหม่ ว่าด้วยเรื่องอัตราส่วนเงินสินบน รางวัล ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของแผนปฏิรูปกรมศุลกากร เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีเป้าหมายลดอัตราส่วนเงินรางวัลจากค่าปรับของผู้กระทำผิดที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร จากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 15 และกำหนดเพดานเงินรางวัล ไว้ที่ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อกรณี เพื่อเป็นการขจัดผลประโยชน์ทับซ้อน สำหรับเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับการค้า ขณะเดียวกัน ยังคงแรงจูงใจเอาไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ยังบังคับใช้กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นอุทธรณ์ให้ศาลตัดสินคำวินิจฉัยของกรมศุลกากรมากขึ้น โดยจะมีความยืดหยุ่นในการตัดสินโทษ คือ จะลงโทษหนักที่สุดกับผู้ที่ลักลอบ หรือตั้งใจกระทำผิด และกำหนดโทษที่เบากว่า หากเห็นว่าเป็นความผิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศเกือบร้อยละ 70 ขึ้นอยู่กับการค้าขายระหว่างประเทศ เกือบทั้งหมดต้องทำผ่านศุลกากร ดังนั้นหากกรมศุลกากรทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้อยละ 70 ของเศรษฐกิจประเทศ นอกจากนี้ หากกรมศุลกากรมีขั้นตอนการทำงานยุ่งยาก หรือติดต่อลำบาก จะเป็นตัวฉุดให้การค้าขายกับต่างประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้ต้นทุนการค้าสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอื่นตามไปด้วย
นอกจากนี้ ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ยังบังคับใช้กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นอุทธรณ์ให้ศาลตัดสินคำวินิจฉัยของกรมศุลกากรมากขึ้น โดยจะมีความยืดหยุ่นในการตัดสินโทษ คือ จะลงโทษหนักที่สุดกับผู้ที่ลักลอบ หรือตั้งใจกระทำผิด และกำหนดโทษที่เบากว่า หากเห็นว่าเป็นความผิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศเกือบร้อยละ 70 ขึ้นอยู่กับการค้าขายระหว่างประเทศ เกือบทั้งหมดต้องทำผ่านศุลกากร ดังนั้นหากกรมศุลกากรทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้อยละ 70 ของเศรษฐกิจประเทศ นอกจากนี้ หากกรมศุลกากรมีขั้นตอนการทำงานยุ่งยาก หรือติดต่อลำบาก จะเป็นตัวฉุดให้การค้าขายกับต่างประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้ต้นทุนการค้าสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอื่นตามไปด้วย