จากกรณีที่นักสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา หรือ มสพ.ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปลดโซ่ล่ามผู้ป่วยแรงงานชาวพม่าที่อยู่ระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถต่อใบอนุญาตทำงานได้ โดยเห็นว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญปี 2550
พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ยืนยันว่า ได้ประสานงานไปยังผู้กำกับการตำรวจนครบาลปทุมวันเพื่อให้ปลดโซ่ล่ามแรงงานรายนี้แล้ว ทั้งนี้จะนำเรื่องนี้ไปหารือและกำชับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล
พร้อมกับชี้แจงว่า การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิด รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่มีโอกาสหลบหนี ตามระเบียบโรงพยาบาลตำรวจจะนำไปรักษาในโซนควบคุมตัว ที่จะต้องมีพันธนาการ ซึ่งมีระเบียบว่าต้องมีพันธนาการเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันการทำร้ายแพทย์พยาบาลที่เข้าไปดูแล
ขณะที่ นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวโครงการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แม้ว่าในขั้นตอนการขอต่อใบอนุญาตทำงานจะไม่มีระเบียบข้อบังคับการยกเว้นและผ่อนผันที่ชัดเจน กรณีมีเหตุสุดวิสัย กรณีการเจ็บป่วย แต่ว่าขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแรงงานชาวพม่ารายนี้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่มีเจตนาไม่ต่อใบอนุญาต แต่อยู่ระหว่างเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วย หลังจากนี้จะสืบค้นข้อมูลในระบบ เพราะเอกสารเดิมหาย และส่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือเรื่องการต่อใบอนุญาตภายในสัปดาห์หน้า
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว ได้ขยายเวลาการต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จากเดิมที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในระบบให้ถูกต้องมากที่สุด เพื่อควบคุมดูแลได้ง่ายหากเกิดปัญหา
พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ยืนยันว่า ได้ประสานงานไปยังผู้กำกับการตำรวจนครบาลปทุมวันเพื่อให้ปลดโซ่ล่ามแรงงานรายนี้แล้ว ทั้งนี้จะนำเรื่องนี้ไปหารือและกำชับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล
พร้อมกับชี้แจงว่า การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิด รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่มีโอกาสหลบหนี ตามระเบียบโรงพยาบาลตำรวจจะนำไปรักษาในโซนควบคุมตัว ที่จะต้องมีพันธนาการ ซึ่งมีระเบียบว่าต้องมีพันธนาการเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันการทำร้ายแพทย์พยาบาลที่เข้าไปดูแล
ขณะที่ นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวโครงการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แม้ว่าในขั้นตอนการขอต่อใบอนุญาตทำงานจะไม่มีระเบียบข้อบังคับการยกเว้นและผ่อนผันที่ชัดเจน กรณีมีเหตุสุดวิสัย กรณีการเจ็บป่วย แต่ว่าขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแรงงานชาวพม่ารายนี้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่มีเจตนาไม่ต่อใบอนุญาต แต่อยู่ระหว่างเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วย หลังจากนี้จะสืบค้นข้อมูลในระบบ เพราะเอกสารเดิมหาย และส่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือเรื่องการต่อใบอนุญาตภายในสัปดาห์หน้า
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว ได้ขยายเวลาการต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จากเดิมที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในระบบให้ถูกต้องมากที่สุด เพื่อควบคุมดูแลได้ง่ายหากเกิดปัญหา