ผลการนับคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ ปี 2554-2555 จำนวน 26 คน ปรากฏว่า ทีมชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ นำโดย นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ได้รับเลือกเป็นกรรมการแพทยสภา มากถึง 20 คน ส่วนอีก 6 คน เป็นผู้สมัครจากทีมแพทย์ไทยสามัคคี และทีมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย
การเลือกตั้งครั้งนี้คณะอนุกรรมการการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ส่งบัตรลงคะแนนล่วงหน้าให้สมาชิกแพทยสภา จำนวน 37,518 คน แต่ว่ามีสมาชิกส่งบัตรลงคะแนนกลับมาเพียง 12,833 คน หรือประมาณร้อยละ 34.2
สำหรับนโยบายหาเสียงในครั้งนี้ ปรากฏว่า ทั้ง 3 ทีม คือ ทีมแพทย์ไทยสามัคคี ทีมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย และทีมชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ชูนโยบายถอนร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ทุกฉบับ เพื่อนำกลับมาทำประชาพิจารณ์ใหม่
ทันทีที่รับทราบผลการเลือกตั้ง กรรมการแพทยสภา 3 คน จากทีมชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง ว่าการผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากขัดต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ใน 3 ประเด็น คือการลงมติของที่ประชุมที่ให้ถือเสียงข้างมาก รายงานการประชุมต้องบันทึกความคิดเห็นแย้งพร้อมเหตุผลไว้ และองค์ประชุมที่ต้องมีกรรมการเข้าร่วมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง
ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ร่วมร่างกฎหมายนี้ ทั้งๆ ที่กระบวนการและเนื้อหาไม่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่กำหนดอยู่ในคู่มือแบบร่างกฎหมาย
การเลือกตั้งครั้งนี้คณะอนุกรรมการการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ส่งบัตรลงคะแนนล่วงหน้าให้สมาชิกแพทยสภา จำนวน 37,518 คน แต่ว่ามีสมาชิกส่งบัตรลงคะแนนกลับมาเพียง 12,833 คน หรือประมาณร้อยละ 34.2
สำหรับนโยบายหาเสียงในครั้งนี้ ปรากฏว่า ทั้ง 3 ทีม คือ ทีมแพทย์ไทยสามัคคี ทีมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย และทีมชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ชูนโยบายถอนร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ทุกฉบับ เพื่อนำกลับมาทำประชาพิจารณ์ใหม่
ทันทีที่รับทราบผลการเลือกตั้ง กรรมการแพทยสภา 3 คน จากทีมชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง ว่าการผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากขัดต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ใน 3 ประเด็น คือการลงมติของที่ประชุมที่ให้ถือเสียงข้างมาก รายงานการประชุมต้องบันทึกความคิดเห็นแย้งพร้อมเหตุผลไว้ และองค์ประชุมที่ต้องมีกรรมการเข้าร่วมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง
ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ร่วมร่างกฎหมายนี้ ทั้งๆ ที่กระบวนการและเนื้อหาไม่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่กำหนดอยู่ในคู่มือแบบร่างกฎหมาย