นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ได้แก่ พืชผล ประมง ปศุสัตว์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้ง 3 จังหวัด โดยจังหวัดยะลา และนราธิวาส ขึ้นอยู่กับผลผลิตยางพาราเป็นหลัก มูลค่ายางพาราปี 2553 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2552 จำนวน 1,959.07 ล้านบาท เป็น 3,387.28 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.90 จังหวัดปัตตานี ขึ้นอยู่กับการประมงทะเล โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าที่ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี จำนวน 10,062 เมตริกตัน และมูลค่าสัตว์น้ำเท่ากับ 332.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.62
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ข้อมูลการจดทะเบียนรถใหม่ พบอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยปี 2552 จดทะเบียนรถจักรยานยนต์ 37,746 คัน ปี 2553 จำนวน 48,360 คัน เพิ่มขึ้น จำนวน 10,614 คัน รถยนต์ (เก๋ง ตู้ กระบะ) ในปี 2553 มีอัตราการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นในจังหวัดยะลา และนราธิวาส เมื่อเทียบกับปี 2552 จำนวน 949 คัน
ส่วนจังหวัดปัตตานีมีอัตราการจดทะเบียนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งจากข้อสังเกตพบว่า ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนเป็นจังหวัดสงขลา และกรุงเทพมหานคร ส่วนรถแทรกเตอร์ พบว่าในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ทำการเกษตรมาก จึงมีอัตราการจดทะเบียนรถเพื่อการใช้งานเพิ่มมากกว่าจังหวัดยะลา และปัตตานี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ข้อมูลการจดทะเบียนรถใหม่ พบอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยปี 2552 จดทะเบียนรถจักรยานยนต์ 37,746 คัน ปี 2553 จำนวน 48,360 คัน เพิ่มขึ้น จำนวน 10,614 คัน รถยนต์ (เก๋ง ตู้ กระบะ) ในปี 2553 มีอัตราการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นในจังหวัดยะลา และนราธิวาส เมื่อเทียบกับปี 2552 จำนวน 949 คัน
ส่วนจังหวัดปัตตานีมีอัตราการจดทะเบียนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งจากข้อสังเกตพบว่า ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนเป็นจังหวัดสงขลา และกรุงเทพมหานคร ส่วนรถแทรกเตอร์ พบว่าในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ทำการเกษตรมาก จึงมีอัตราการจดทะเบียนรถเพื่อการใช้งานเพิ่มมากกว่าจังหวัดยะลา และปัตตานี