นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงข้อเสนอการยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติมในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ว่า เพื่อลดข้อกังวลใจหากมีการประกาศยกเลิก ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมความมั่นใจให้แก่ประชาชน ด้วยการมอบให้ฝ่ายพลเรือน และตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งฝ่ายปกครองสามารถดูแลพื้นที่ในหน้าที่ปกติได้ โดยจัดชุดกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ พร้อมอาวุธ ประสานการปฏิบัติกับฝ่ายกำลังในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันอ.เบตง ได้รับการเพิ่มอัตรากำลังอาสารักษาดินแดน (อส.) มากที่สุดในจังหวัดยะลา จำนวน 342 นาย ทำให้สามารถใช้ศักยภาพ อส.ป้องกันดูแลสถานที่ราชการหรือปฏิบัติภารกิจพิเศษต่างๆ ได้มากขึ้น โดยฝ่ายตำรวจรับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตหมู่บ้าน อำเภอ ขณะที่ฝ่ายปกครองจัดชุดกองร้อย อส.ประสานกับหน่วยเฉพาะกิจ 11 ที่ยังคงดูแลพื้นที่ใกล้เคียงที่ยังไม่ยกเลิกพระราชกำหนดฯ หรือร่วมกับกองร้อยทหารพรานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า ยังได้กำหนดมาตรการเสริมโดยสนับสนุนให้ภาคประชาชน/ประชาสังคม รวมกำลังในการป้องกันตนเอง มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนภาครัฐในการรักษาความสงบ ในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านได้มากขึ้น โดยจัดเวทีประชาคมและเสวนาบทบาทคณะกรรมการหมู่บ้าน
นอกจากนี้ ยังจะจัดให้มีมาตรการเสริมสร้างด้านการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุความไม่สงบ ให้แก่ประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น เช่น จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ในระดับตำบล สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมภาคประชาชนระดับตำบล ในระดับพื้นที่ให้ดำเนินการอย่างจริงจัง/เข้มแข็ง สามารถยุติข้อขัดแย้งของประชาชนในประเด็นการร้องเรียนร้องทุกข์ในพื้นที่ได้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า ยังได้กำหนดมาตรการเสริมโดยสนับสนุนให้ภาคประชาชน/ประชาสังคม รวมกำลังในการป้องกันตนเอง มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนภาครัฐในการรักษาความสงบ ในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านได้มากขึ้น โดยจัดเวทีประชาคมและเสวนาบทบาทคณะกรรมการหมู่บ้าน
นอกจากนี้ ยังจะจัดให้มีมาตรการเสริมสร้างด้านการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุความไม่สงบ ให้แก่ประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น เช่น จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ในระดับตำบล สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมภาคประชาชนระดับตำบล ในระดับพื้นที่ให้ดำเนินการอย่างจริงจัง/เข้มแข็ง สามารถยุติข้อขัดแย้งของประชาชนในประเด็นการร้องเรียนร้องทุกข์ในพื้นที่ได้