นายวราวุธ ขันติยานันท์ ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวถึงแผนการทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ว่า เตรียมแผนแก้ไขปัญาภัยแล้ง โดยได้จัดเตรียมความพร้อมด้านศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ ทั้ง 5 ศูนย์ที่มีอยู่ประจำ 5 ภาค ซึ่งเจ้าหน้าที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติการแล้ว ซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว 2 แห่ง คือ ที่ภาคใต้ ตั้งขึ้นที่สนามบินหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคตะวันออก ตั้งขึ้นที่ จ.ระยอง ส่วนการเริ่มต้นปฏิบัติการฝนหลวงคาดว่าเดือนมีนาคมจะสามารถปฏิบัติการได้บ่อยขึ้น เพราะช่วงนี้ยังถือว่าอยู่ช่วงปลายฤดูหนาว ความชื้นในอากาศค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถปฏิบัติการได้ และยังมีแผนที่จะตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่เชียงใหม่ มาดูแลเขื่อนต่างๆ ในภาคเหนือ
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.นครสวรรค์ ดูแลเขื่อนภาคกลาง และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.ขอนแก่น ดูแลเขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตด้วย
นอกจากฝนหลวงจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังมีผลช่วยให้แก้ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว เพราะคาดว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปฏิบัติการฝนหลวงที่หัวหิน และระยอง เริ่มปฏิบัติการไปบ้างแล้ว แต่ยังเป็นปริมาณน้ำฝนที่เบาบาง แต่ก็เพียงพอที่จะสร้างความชุ่มชื้นได้ คาดว่าเดือนมีนาคมปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มมากขึ้น เพราะความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น
ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ยังกล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ ว่า ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ไว้ คาดว่าช่วงหน้าแล้งปีนี้ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างต่ำ ส่วนภาคที่ขอความช่วยเหลือเรื่องฝนหลวงเข้ามาในช่วงนี้มากที่สุด คือภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางก็เริ่มทยอยขอความช่วยเหลือมาบ้างแล้ว
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.นครสวรรค์ ดูแลเขื่อนภาคกลาง และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.ขอนแก่น ดูแลเขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตด้วย
นอกจากฝนหลวงจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังมีผลช่วยให้แก้ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว เพราะคาดว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปฏิบัติการฝนหลวงที่หัวหิน และระยอง เริ่มปฏิบัติการไปบ้างแล้ว แต่ยังเป็นปริมาณน้ำฝนที่เบาบาง แต่ก็เพียงพอที่จะสร้างความชุ่มชื้นได้ คาดว่าเดือนมีนาคมปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มมากขึ้น เพราะความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น
ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ยังกล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ ว่า ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ไว้ คาดว่าช่วงหน้าแล้งปีนี้ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างต่ำ ส่วนภาคที่ขอความช่วยเหลือเรื่องฝนหลวงเข้ามาในช่วงนี้มากที่สุด คือภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางก็เริ่มทยอยขอความช่วยเหลือมาบ้างแล้ว