ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 16 อย่างไม่เป็นทางการ ที่ประเทศมาเลเซีย นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเข้าสู่กระบวนการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งทำให้สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรี ภายในปี 2558 นั้น พบว่าหลายประเทศได้สร้างเงื่อนไข และวางหลักเกณฑ์ในลักษณะกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช้ภาษี หรือ เอ็นทีบี เช่น วิสาหกิจของมาเลเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลนำเข้าน้ำตาล 4 แห่ง ออกหลักเกณฑ์ด้านถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อจงใจกัดกันไทยไม่ให้เข้าร่วมประมูล ทำให้ไทยต้องสูญเสียโอกาสส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้น จากปกติมาเลเซียจะนำเข้าน้ำตาลจากไทยปีละ 1-2 แสนตัน จึงได้ขอความร่วมมือและเจรจาเพื่อให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว
สำหรับความคืบหน้าการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ และการลงทุนในอาเซียนนั้น อินโดนีเซียได้ขอเพิ่มบัญชีสงวนภาคการลงทุนด้านการเกษตร ซึ่งต้องนำข้อมูลผลกระทบมาประเมินเพิ่มเติม รวมถึงเจรจาร่วมกัน เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำเออีซี
ขณะที่ภาคการบริการอาเซียน ซึ่งยังล่าช้าจากการลงสัตยาบันของเวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพราะยังไม่ส่งบัญชีรายการธุรกิจบริการ ที่สามารถเปิดเสรีได้ อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้ เริ่มสัญญาณที่ดีขึ้น และคาดว่าจะบรรลุเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ ได้ก่อนกลางปีนี้อย่างแน่นอน
สำหรับความคืบหน้าการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ และการลงทุนในอาเซียนนั้น อินโดนีเซียได้ขอเพิ่มบัญชีสงวนภาคการลงทุนด้านการเกษตร ซึ่งต้องนำข้อมูลผลกระทบมาประเมินเพิ่มเติม รวมถึงเจรจาร่วมกัน เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำเออีซี
ขณะที่ภาคการบริการอาเซียน ซึ่งยังล่าช้าจากการลงสัตยาบันของเวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพราะยังไม่ส่งบัญชีรายการธุรกิจบริการ ที่สามารถเปิดเสรีได้ อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้ เริ่มสัญญาณที่ดีขึ้น และคาดว่าจะบรรลุเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ ได้ก่อนกลางปีนี้อย่างแน่นอน