สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้แถลงตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ว่า สามารถขยายตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบปี และเพิ่มขึ้นถึง 5.8 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในปีที่ผ่านมา ติดลบต่ำกว่าที่คาดการณ์เพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์
โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ คือการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 4.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนในเดือนธันวาคม ส่งผลให้มีรายได้กระจายตัวไปทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกัน ราคาพืชผลการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ทั้งยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์ม ส่งผลต่อการบริโภคในประเทศ จึงคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะมีแรงส่งต่อเนื่อง ทำให้ขยายตัวประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแก้ปัญหามาบตาพุด รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อภาคการเกษตร ส่วนปัจจัยการเมืองที่ไม่สามารถประเมินได้ แต่หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก และจะทำให้การฟื้นตัวเป็นไปได้ช้า รัฐบาลต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ คือการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 4.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนในเดือนธันวาคม ส่งผลให้มีรายได้กระจายตัวไปทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกัน ราคาพืชผลการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ทั้งยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์ม ส่งผลต่อการบริโภคในประเทศ จึงคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะมีแรงส่งต่อเนื่อง ทำให้ขยายตัวประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแก้ปัญหามาบตาพุด รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อภาคการเกษตร ส่วนปัจจัยการเมืองที่ไม่สามารถประเมินได้ แต่หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก และจะทำให้การฟื้นตัวเป็นไปได้ช้า รัฐบาลต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ