นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า คนต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปีก่อนโตถึง 2,300 เมกะวัตต์ และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นกว่า 2,100 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 21 นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยใช้ไฟฟ้ามา ซึ่งสะท้อนว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และกระจายตัวในแต่ละภาคเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นเพราะในเดือนมกราคมปีก่อน การใช้ไฟฟ้าไทยทำสถิติลดต่ำลงสูงสุดมากกว่าร้อยละ 10 จากการส่งออกที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลก และไทยยังมีปัญหาเรื่องการเมืองที่มีการปิดสนามบิน ซึ่งเมื่อแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น กฟผ.จึงได้มีการปรับประมาณการความต้องการใช้สูงสุดของปีนี้ใหม่ จากเดิมคาดว่า จะมีประมาณร้อยละ 3.5 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.2 และปริมาณไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 4.72 โดยยืนยันว่า กฟผ.จัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปริมาณน้ำในเขื่อน ซึ่งมีการลดลงจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 10 ขณะที่ไทยยังใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ซึ่งเป็นก๊าซจากพม่าสูงถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปริมาณก๊าซรวม 2400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้นการกระจายเชื้อเพลิงไปในประเภทอื่นๆ เป็นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ยังเป็นเพราะในเดือนมกราคมปีก่อน การใช้ไฟฟ้าไทยทำสถิติลดต่ำลงสูงสุดมากกว่าร้อยละ 10 จากการส่งออกที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลก และไทยยังมีปัญหาเรื่องการเมืองที่มีการปิดสนามบิน ซึ่งเมื่อแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น กฟผ.จึงได้มีการปรับประมาณการความต้องการใช้สูงสุดของปีนี้ใหม่ จากเดิมคาดว่า จะมีประมาณร้อยละ 3.5 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.2 และปริมาณไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 4.72 โดยยืนยันว่า กฟผ.จัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปริมาณน้ำในเขื่อน ซึ่งมีการลดลงจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 10 ขณะที่ไทยยังใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ซึ่งเป็นก๊าซจากพม่าสูงถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปริมาณก๊าซรวม 2400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้นการกระจายเชื้อเพลิงไปในประเภทอื่นๆ เป็นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด