น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า 5 โรคไม่ติดต่อที่คนไทยมีสถิติการป่วยมากขึ้นจากการเฝ้าระวังคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ โดยในปี 2551 มีคนไทยป่วยกว่า 2 ล้านคน โดยพบว่า สถิติการป่วยเพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เร่งสำรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้ครบทุกคน เพื่อวางแผนลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่
โดยผลการเฝ้าระวังตลอดปี 2551 พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ที่เข้าการรักษาในโรงพยาบาล 44 จังหวัด รวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากที่สุด ตามมาด้วยโรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือด โดยเมื่อเปรียบอัตราผู้ป่วยจาก 5 โรคติดต่อ ประชากรทุก 1 แสนคน พบว่า 10 จังหวัดแรกมีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และลำปาง ซึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมดนี้ เป็นผู้ที่เริ่มป่วยในปี 2551 จำนวน 718,297 ราย เฉลี่ยเดือนละเกือบ 60,000 ราย หรือป่วยเพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน
น.พ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า กลุ่มผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 56 ของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้หญิงป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชายเกือบ 2 เท่า โดยเฉพาะคนกลุ่มวัยทำงานอายุน้อยกว่า 40 ปี มีแนวโน้มป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น
โดยผลการเฝ้าระวังตลอดปี 2551 พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ที่เข้าการรักษาในโรงพยาบาล 44 จังหวัด รวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากที่สุด ตามมาด้วยโรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือด โดยเมื่อเปรียบอัตราผู้ป่วยจาก 5 โรคติดต่อ ประชากรทุก 1 แสนคน พบว่า 10 จังหวัดแรกมีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และลำปาง ซึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมดนี้ เป็นผู้ที่เริ่มป่วยในปี 2551 จำนวน 718,297 ราย เฉลี่ยเดือนละเกือบ 60,000 ราย หรือป่วยเพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน
น.พ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า กลุ่มผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 56 ของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้หญิงป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชายเกือบ 2 เท่า โดยเฉพาะคนกลุ่มวัยทำงานอายุน้อยกว่า 40 ปี มีแนวโน้มป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น