สปสช.ตั้งกองทุนใหม่เพิ่ม กองทุนควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เริ่มปี 2553 ใช้งบกว่า 300 ล้านบาท ระบุเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีระบบบริหารจัดการและงบประมาณโดยเฉพาะในโรคนี้
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า ในปี 2553 จะมีกองทุนย่อยเพิ่มขึ้นใหม่ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากเดิมที่มีกองทุนงบเหมาจ่ายรายหัว กองทุนบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และกองทุนบริการทดแทนไต ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน คือ กองทุนบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังหรือโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงโดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 304.59 ล้านบาท ซึ่งทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีระบบการบริหารและการงบประมาณเพื่อการควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะ
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า กองทุนดังกล่าว จะเน้นการตรวจคัดกรอง/ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง การเฝ้าระวังในชุมชน ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่มี อบต./เทศบาลเป็นกลไกหลัก หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา ฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้บริการใกล้บ้านใกล้ใจ เช่น สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และมีระบบส่งต่อส่งกลับผู้ป่วยระหว่างเครือข่าย
“ในปีแรกนั้นจะเน้นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่ง 2 โรคนี้เป็นผลมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคหวาน-เค็มเกิน ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เมื่อเป็นโรคนี้จะนำไปสู่ภาวะโรคที่รุนแรงตามมา เช่น โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น และนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิตและเกิดความพิการสูง” นพ.วินัย กล่าว
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา สปสช.ได้ดำเนินการในส่วนของการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน โดยนำร่องบางพื้นที่ ในปี 2551 มีประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองโรค 1.3 ล้านราย พบกลุ่มเสี่ยงสูง 31,099 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่ 7,450 ราย ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนั้น ในปี 2552 ได้เข้าสู่ระบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเฝ้าระวังโรค และการรักษาเพื่อป้องกันภาวะลุกลามและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนในปี 2553 จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ของบประมาณเฉพาะสำหรับควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่สำคัญยังมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง จึงทำให้ไม่ระมัดระวังในการดูแลตนเอง
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า ในปี 2553 จะมีกองทุนย่อยเพิ่มขึ้นใหม่ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากเดิมที่มีกองทุนงบเหมาจ่ายรายหัว กองทุนบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และกองทุนบริการทดแทนไต ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน คือ กองทุนบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังหรือโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงโดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 304.59 ล้านบาท ซึ่งทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีระบบการบริหารและการงบประมาณเพื่อการควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะ
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า กองทุนดังกล่าว จะเน้นการตรวจคัดกรอง/ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง การเฝ้าระวังในชุมชน ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่มี อบต./เทศบาลเป็นกลไกหลัก หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา ฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้บริการใกล้บ้านใกล้ใจ เช่น สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และมีระบบส่งต่อส่งกลับผู้ป่วยระหว่างเครือข่าย
“ในปีแรกนั้นจะเน้นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่ง 2 โรคนี้เป็นผลมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคหวาน-เค็มเกิน ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เมื่อเป็นโรคนี้จะนำไปสู่ภาวะโรคที่รุนแรงตามมา เช่น โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น และนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิตและเกิดความพิการสูง” นพ.วินัย กล่าว
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา สปสช.ได้ดำเนินการในส่วนของการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน โดยนำร่องบางพื้นที่ ในปี 2551 มีประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองโรค 1.3 ล้านราย พบกลุ่มเสี่ยงสูง 31,099 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่ 7,450 ราย ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนั้น ในปี 2552 ได้เข้าสู่ระบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเฝ้าระวังโรค และการรักษาเพื่อป้องกันภาวะลุกลามและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนในปี 2553 จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ของบประมาณเฉพาะสำหรับควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่สำคัญยังมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง จึงทำให้ไม่ระมัดระวังในการดูแลตนเอง