นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การบังคับใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อาเซียน หรือ อาฟตา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากร โดยหลังเปิดอาฟตาไทย-อาเซียน มีเอกชนใช้สิทธิประมาณร้อยละ 16 หรือคิดเป็นวงเงินประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท จากที่เอกชนจะใช้สิทธิร้อยละ 100 ส่วนที่เหลือเอกชนยังคงเสียภาษีตามปกติ เนื่องจากการใช้สิทธิภาษีร้อยละ 0 ต้องมีเอกสารประกอบคือ ใบข้อตกลงการค้า และใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ผลิตในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งตามข้อตกลงต้องมีแหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียนร้อยละ 40 ซึ่งขณะนี้เอกชนหลายแห่งยังไม่มีใบรับรองดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เอกชนต้องปรับตัว และเชื่อว่าจะมีเอกชนใช้สิทธิเสรีการค้ามากขึ้น โดยภายใน 5 ปี จะมีเอกชนมาใช้สิทธิถึงร้อยละ 40 และทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรเหลือเพียง 40,000-50,000 ล้านบาท
สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2553 อยู่ที่ 73,800 ล้านบาท ซึ่งกรมศุลกากร คาดว่า จะจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่กำหนด แต่จะลดลงจากปี 2552 ที่จัดเก็บรายได้ 80,000 ล้านบาท ขณะที่ผลงานในรอบ 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 (1 ต.ค.-31 ธ.ค.52) กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สุทธิเป็นจำนวนรวม 25,414.429 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการประมาณที่ 6,149.429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.92 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (1 ต.ค.-31 ธ.ค.51) จำนวน 1,230.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.08 โดยจำแนกเป็นอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 24,344.920 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 5,584.920 ล้านบาท อากรขาออกจัดเก็บได้ 17.487 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดเก็บได้ 1,052.022 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 547.022 ล้านบาท
นายสมชัย กล่าวอีกว่า วันพรุ่งนี้ ( 27 ม.ค.) คณะอนุกรรมการกรมศุลกากรจะมีการประชุม เพื่อหารือเรื่องการปฏิรูปกฎหมายของกรมศุลกากร โดยจะลดมาตรการจาก 262 เหลือ 250 มาตรการ เพื่อจักโครงสร้างภาษีใหม่ และเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอคณะกรรมการกรมศุลกากรพิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2553 อยู่ที่ 73,800 ล้านบาท ซึ่งกรมศุลกากร คาดว่า จะจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่กำหนด แต่จะลดลงจากปี 2552 ที่จัดเก็บรายได้ 80,000 ล้านบาท ขณะที่ผลงานในรอบ 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 (1 ต.ค.-31 ธ.ค.52) กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สุทธิเป็นจำนวนรวม 25,414.429 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการประมาณที่ 6,149.429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.92 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (1 ต.ค.-31 ธ.ค.51) จำนวน 1,230.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.08 โดยจำแนกเป็นอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 24,344.920 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 5,584.920 ล้านบาท อากรขาออกจัดเก็บได้ 17.487 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดเก็บได้ 1,052.022 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 547.022 ล้านบาท
นายสมชัย กล่าวอีกว่า วันพรุ่งนี้ ( 27 ม.ค.) คณะอนุกรรมการกรมศุลกากรจะมีการประชุม เพื่อหารือเรื่องการปฏิรูปกฎหมายของกรมศุลกากร โดยจะลดมาตรการจาก 262 เหลือ 250 มาตรการ เพื่อจักโครงสร้างภาษีใหม่ และเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอคณะกรรมการกรมศุลกากรพิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป