พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และโฆษกดีเอสไอ กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับอีก 3 คน ของบริษัท เบสท์ 59 จำกัด ตราปูแดง ไคโตซาน ประกอบด้วย นายสมปอง แซ่ตั้ง ประธานกรรมการบริษัทฯ นายธนาพัฒน์ กิจใบ และนายวิชาญ จำปาขาว เดินทางมามอบตัวที่สำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมนำหลักทรัพย์มายื่นขอประกันตัวด้วย
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะพิจารณาโดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1 ผู้ต้องหาจะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน และ 2 ไม่ไปยุยงปลุกปั่นสมาชิกให้มาร้องเรียนหรือประท้วง หากผิดเงื่อนไข ดีเอสไอก็จะยกเลิกการประกันตัว
พ.ต.อ.ณรัชต์ ยังยืนยันว่า การดำเนินคดีกับผู้บริหารปูแดงฯ เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง มีพยานหลักฐานพอสมควร ซึ่งเป็นการร่วมมือตรวจสอบระหว่าง 4 หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ ดีเอสไอ ซึ่งเห็นตรงกันว่า การกระทำของบริษัทเข้าข่ายผิดกฎหมายแชร์ลูกโซ่ มีรายได้หลักจากการขยายองค์กร ด้วยการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่าย และเสนอผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งต่างจากการขายตรงที่รายได้หลักมาจากการขายสินค้า
ส่วนข้อหาของผู้ต้องหาทั้ง 3 คน คือ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มผู้ต้องหาเห็นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ ก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญได้
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะพิจารณาโดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1 ผู้ต้องหาจะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน และ 2 ไม่ไปยุยงปลุกปั่นสมาชิกให้มาร้องเรียนหรือประท้วง หากผิดเงื่อนไข ดีเอสไอก็จะยกเลิกการประกันตัว
พ.ต.อ.ณรัชต์ ยังยืนยันว่า การดำเนินคดีกับผู้บริหารปูแดงฯ เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง มีพยานหลักฐานพอสมควร ซึ่งเป็นการร่วมมือตรวจสอบระหว่าง 4 หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ ดีเอสไอ ซึ่งเห็นตรงกันว่า การกระทำของบริษัทเข้าข่ายผิดกฎหมายแชร์ลูกโซ่ มีรายได้หลักจากการขยายองค์กร ด้วยการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่าย และเสนอผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งต่างจากการขายตรงที่รายได้หลักมาจากการขายสินค้า
ส่วนข้อหาของผู้ต้องหาทั้ง 3 คน คือ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มผู้ต้องหาเห็นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ ก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญได้