สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของคนกรุงเทพฯ ภายหลังการเปลี่ยนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล" ซึ่งก่อนหน้านี้เอแบคโพลล์สำรวจเรื่องเดียวกันนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อนำมาเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน จากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,700 คน ร้อยละ 92.4 ระบุว่า ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่านสื่อมวลชนทุกสัปดาห์ ขณะที่ร้อยละ 80 รับรู้ข่าวสารยาเสพติดผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำ รองลงมาคือข่าวฆาตกรรมและข่มขืน ร้อยละ 92.6 เห็นว่าควรมีตำรวจสายตรวจประจำตามจุดเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และยังพบว่าตำรวจใช้เวลากว่า 30 นาที เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุหลังรับแจ้งเหตุ และบางพื้นที่ใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว พบว่าตำรวจใช้เวลาประมาณ 22 นาที ไปถึงจุดเกิดเหตุ
ขณะที่ผลสำรวจด้านความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ลดลงจากการสำรวจครั้งที่แล้ว โดยผลคะแนนนิยมของตำรวจ 191 ลดลงจาก 7 คะแนนเหลือ 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่ตำรวจท้องที่ ลดลงจาก 6.98 เหลือเพียง 5 คะแนน
คนกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าปัญหาอาชญากรรมที่ยังพบเห็นอยู่ เป็นเพราะมีกำลังตำรวจทำหน้าที่ดูแลไม่เพียงพอ จึงทำให้ศักยภาพการทำงานลดลง
ขณะที่ผลสำรวจด้านความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ลดลงจากการสำรวจครั้งที่แล้ว โดยผลคะแนนนิยมของตำรวจ 191 ลดลงจาก 7 คะแนนเหลือ 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่ตำรวจท้องที่ ลดลงจาก 6.98 เหลือเพียง 5 คะแนน
คนกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าปัญหาอาชญากรรมที่ยังพบเห็นอยู่ เป็นเพราะมีกำลังตำรวจทำหน้าที่ดูแลไม่เพียงพอ จึงทำให้ศักยภาพการทำงานลดลง