ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวในการเสวนา "โทษประหารชีวิต สังคมไทยคิดอย่างไร" ระบุว่า โทษประหารชีวิตไม่มีความจำเป็นในสังคมไทย เนื่องจากไม่มีผลต่อการลดปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงได้ ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการบังคับใช้โทษประหารชีวิตแล้ว ซึ่งมีเพียง 25 ประเทศเท่านั้น ที่ยังใช้โทษประหารชีวิต รวมทั้งประเทศไทยด้วย
นายนัทธี จิตสว่าง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิต แต่คดียาเสพติดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ศาลตัดสินประหารชีวิตฆ่าแหม่มที่ จ.ระยอง แต่ผ่านไปไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุลักษณะเดียวกันอีก
ขณะที่ผลการวิจัยระบุว่า "โทษ" จะมีผลทำให้คนเกรงกลัวได้ ต้องประกอบด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ มีความแน่นอนและรวดเร็วในการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ร่วมกับการขจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การก่ออาชญากรรม
นายนัทธี จิตสว่าง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิต แต่คดียาเสพติดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ศาลตัดสินประหารชีวิตฆ่าแหม่มที่ จ.ระยอง แต่ผ่านไปไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุลักษณะเดียวกันอีก
ขณะที่ผลการวิจัยระบุว่า "โทษ" จะมีผลทำให้คนเกรงกลัวได้ ต้องประกอบด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ มีความแน่นอนและรวดเร็วในการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ร่วมกับการขจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การก่ออาชญากรรม