ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หารือร่วมกับ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่ กทม.โดยผู้ว่าฯกทม. กล่าวภายหลังร่วมหารือว่า หลังจากที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) สำรวจและพบพื้นที่เสี่ยงอันตรายใน กทม.รวม 5,365 จุด ดังนั้น การหารือครั้งนี้ จึงถือเป็นการทำงานร่วมกันอย่างเป็นทางการในการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งในส่วนของ กทม.จะนำข้อมูลที่ได้จาก บช.น. ไปติดตั้งไฟส่องสว่างและกล้องวงจรปิด
อย่างไรก็ตาม กทม.คงต้องขอให้ บช.น.เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพราะ กทม.คงไม่สามารถเข้าไปติดตั้งทุกจุดได้ทันที รวมทั้งจะมีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนอันตรายในจุดเสี่ยงต่างๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ปัญหานี้จะต้องเดินหน้าแก้ไขด้วยกัน รวมถึงต้องประสานให้ประชาชนร่วมเป็นหูเป็นตาด้วยอีกทาง
ด้าน พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวว่า จุดเสี่ยงที่สรุปมากว่า 5,000 จุดนั้น ได้มาจากข้อมูลด้านอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงบางครั้งก็เกินความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการ จึงต้องอาศัยความร่วมมือกับ กทม. โดยสิ่งแรกที่จะได้เห็นในการแก้ไขปัญหาของ 2 หน่วยงานจากนี้ คือ จัดตั้งสายตรวจร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่เทศกิจและตำรวจ ร่วมออกตรวจในพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ ใน กทม. อาทิ ซอยเปลี่ยว ป้ายรถเมล์ พื้นที่รกร้าง และหลังจากทำงานร่วมกันทุกสัปดาห์จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างเขต และ สน.ในท้องที่เพื่อสรุปหาทางแก้ไขพื้นที่จุดเสี่ยง
ทั้งนี้ มั่นใจว่า หลังจากนี้ 2-3 เดือน จุดเสี่ยงใน กทม.จะค่อยๆ ลดจำนวนลงไป ส่วนตัวตั้งเป้าต้องการลดให้ได้ร้อยละ 10 ต่อเดือน แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง รวมทั้งจะให้เจ้าหน้าที่จาก บช.น.เร่งสำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงเพื่อนำมาจัดอันดับ 10 พื้นที่อันตรายที่สุด เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัว เมื่อได้ผลสรุปแล้วจะนำมาข้อมูลมาแถลงร่วมกับผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม กทม.คงต้องขอให้ บช.น.เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพราะ กทม.คงไม่สามารถเข้าไปติดตั้งทุกจุดได้ทันที รวมทั้งจะมีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนอันตรายในจุดเสี่ยงต่างๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ปัญหานี้จะต้องเดินหน้าแก้ไขด้วยกัน รวมถึงต้องประสานให้ประชาชนร่วมเป็นหูเป็นตาด้วยอีกทาง
ด้าน พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวว่า จุดเสี่ยงที่สรุปมากว่า 5,000 จุดนั้น ได้มาจากข้อมูลด้านอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงบางครั้งก็เกินความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการ จึงต้องอาศัยความร่วมมือกับ กทม. โดยสิ่งแรกที่จะได้เห็นในการแก้ไขปัญหาของ 2 หน่วยงานจากนี้ คือ จัดตั้งสายตรวจร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่เทศกิจและตำรวจ ร่วมออกตรวจในพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ ใน กทม. อาทิ ซอยเปลี่ยว ป้ายรถเมล์ พื้นที่รกร้าง และหลังจากทำงานร่วมกันทุกสัปดาห์จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างเขต และ สน.ในท้องที่เพื่อสรุปหาทางแก้ไขพื้นที่จุดเสี่ยง
ทั้งนี้ มั่นใจว่า หลังจากนี้ 2-3 เดือน จุดเสี่ยงใน กทม.จะค่อยๆ ลดจำนวนลงไป ส่วนตัวตั้งเป้าต้องการลดให้ได้ร้อยละ 10 ต่อเดือน แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง รวมทั้งจะให้เจ้าหน้าที่จาก บช.น.เร่งสำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงเพื่อนำมาจัดอันดับ 10 พื้นที่อันตรายที่สุด เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัว เมื่อได้ผลสรุปแล้วจะนำมาข้อมูลมาแถลงร่วมกับผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง