สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดตัวโครงการสื่อสารสาธารณะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสังคมไทย โดยนายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส. กล่าวว่า จากผลสำรวจสุขภาพจิตคนไทยปี 2552 พบว่า เยาวชนวัย 15-24 ปี มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด และ 1 ใน 3 ของเยาวชน ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อมีเหตุการณ์คับขัน หรือร้ายแรงเกิดขึ้น นอกจากนี้ เยาวชนยังเป็นกลุ่มอายุที่มีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นน้อยที่สุด
ทั้งนี้ งานวิจัยทั่วโลกระบุว่า ทางแก้ไขต้องดูแลสุขภาพจิต ที่สำคัญต้องให้เยาวชนร่วมแก้ปัญหาของตัวเอง
โดยงานวันนี้ ยังมีการสัมมนาเรื่อง "เข้าใจเข้าถึง... หัวใจเด็กดื้อยุค 3 จี" โดย นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัญหาเด็กแว๊น เด็กปาหิน เด็กยกพวกตีกัน ล้วนมีปัญหาจากปัจจัย 4 ด้าน คือ พันธุกรรม การเลี้ยงดู การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการพยายามเข้าไปแก้ปัญหา และค้นพบว่า ปัญหาของเด็ก ต้องดึงเด็กเข้ามาร่วมแก้ ส่งผลให้สถานการณ์ดีขึ้น
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความดื้อของเด็กไม่ใช่ปัญหา เพราะหากไม่มีคนดื้อ มนุษยชาติก็จะไม่พัฒนาเปลี่ยนแปลง ถ้าการดื้ออยู่ในขอบเขตจะส่งผลดีให้สังคมเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาสังคมปัจจุบันเกิดจากผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้เด็กที่เกิดมาซึมซับ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ก้าวไปเร็วด้วย
ทั้งนี้ งานวิจัยทั่วโลกระบุว่า ทางแก้ไขต้องดูแลสุขภาพจิต ที่สำคัญต้องให้เยาวชนร่วมแก้ปัญหาของตัวเอง
โดยงานวันนี้ ยังมีการสัมมนาเรื่อง "เข้าใจเข้าถึง... หัวใจเด็กดื้อยุค 3 จี" โดย นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัญหาเด็กแว๊น เด็กปาหิน เด็กยกพวกตีกัน ล้วนมีปัญหาจากปัจจัย 4 ด้าน คือ พันธุกรรม การเลี้ยงดู การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการพยายามเข้าไปแก้ปัญหา และค้นพบว่า ปัญหาของเด็ก ต้องดึงเด็กเข้ามาร่วมแก้ ส่งผลให้สถานการณ์ดีขึ้น
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความดื้อของเด็กไม่ใช่ปัญหา เพราะหากไม่มีคนดื้อ มนุษยชาติก็จะไม่พัฒนาเปลี่ยนแปลง ถ้าการดื้ออยู่ในขอบเขตจะส่งผลดีให้สังคมเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาสังคมปัจจุบันเกิดจากผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้เด็กที่เกิดมาซึมซับ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ก้าวไปเร็วด้วย