นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางเป็นผู้ส่งข้อมูลให้ตรวจสอบ หลังพบความผิดปกติจากการเบิกจ่ายยาของข้าราชการ และอดีตข้าราชการที่เกษียณอายุ รวมถึงครอบครัวข้าราชการที่เบิกจ่ายยาจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ สูงขึ้นถึงร้อยละ 15-20 ต่อปี สร้างความเสียหายกว่า 8,000-10,000 ล้านบาท
นายภิญโญ เปิดเผยว่า โรคส่วนใหญ่ที่ข้าราชการเบิกจ่ายยา และมีมูลค่าสูง เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน และโรคเบาหวาน บางรายเบิกจ่ายคนละ 1-2 ล้านบาทต่อปี
จากการตรวจสอบเบื้องต้นของกรมบัญชีกลาง พบความผิดปกติจากข้าราชการกว่า 100 คน และได้แจ้งความดำเนินคดีกับข้าราชการแล้ว 8 คน ในข้อหาฉ้อโกง ซึ่งเบื้องต้นจะมีการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าการเบิกจ่ายยาเป็นเท็จหรือไม่ ผู้เบิกต้องการยาจำนวนมากเพื่ออะไร รวมทั้งมีบริษัทยา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือแพทย์ เกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยหรือไม่
สำหรับระเบียบการเบิกจ่ายยาของข้าราชการ มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี 2549 ที่ให้ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาโดยที่ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน ซึ่งค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจะไปคิดกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วยที่เบิก และหน่วยงานที่พบมีค่าใช้จ่ายสูงผิดปกติ คือ ทหาร
นายภิญโญ เปิดเผยว่า โรคส่วนใหญ่ที่ข้าราชการเบิกจ่ายยา และมีมูลค่าสูง เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน และโรคเบาหวาน บางรายเบิกจ่ายคนละ 1-2 ล้านบาทต่อปี
จากการตรวจสอบเบื้องต้นของกรมบัญชีกลาง พบความผิดปกติจากข้าราชการกว่า 100 คน และได้แจ้งความดำเนินคดีกับข้าราชการแล้ว 8 คน ในข้อหาฉ้อโกง ซึ่งเบื้องต้นจะมีการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าการเบิกจ่ายยาเป็นเท็จหรือไม่ ผู้เบิกต้องการยาจำนวนมากเพื่ออะไร รวมทั้งมีบริษัทยา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือแพทย์ เกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยหรือไม่
สำหรับระเบียบการเบิกจ่ายยาของข้าราชการ มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี 2549 ที่ให้ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาโดยที่ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน ซึ่งค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจะไปคิดกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วยที่เบิก และหน่วยงานที่พบมีค่าใช้จ่ายสูงผิดปกติ คือ ทหาร