นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีกระทรวงการต่างประเทศ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (10 พ.ย.) พิจารณายกเลิกบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลงนามเมื่อปี 2544 ว่า หากมีการยกเลิก MOU ดังกล่าว เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในหลายประเทศอยู่แล้ว ที่สำคัญยังสามารถสำรวจปิโตรเลียมนอกพื้นที่ทับซ้อนได้ ซึ่งในเขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชายังไม่มีการให้สัมปทานกับบริษัทใด
ขณะที่ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถึงมีการยกเลิก MOU ฉบับนี้ จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับ ปตท. เพราะผู้ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งฝั่งไทยและกัมพูชาเป็นผู้ประกอบการภาคเอกชนจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ทั้งนี้ มองว่าถ้าหากมีการยกเลิก MOU อาจจะทำให้การพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าวต้องใช้เวลามากขึ้นในอนาคต
ขณะที่ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถึงมีการยกเลิก MOU ฉบับนี้ จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับ ปตท. เพราะผู้ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งฝั่งไทยและกัมพูชาเป็นผู้ประกอบการภาคเอกชนจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ทั้งนี้ มองว่าถ้าหากมีการยกเลิก MOU อาจจะทำให้การพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าวต้องใช้เวลามากขึ้นในอนาคต