องค์กรเอกชน ประกอบด้วย ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ ร่วมกับโครงการจัดตั้งสำนักงานศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมระดมความเห็นเรื่องกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศ เพื่อหาข้อสรุปผลักดันให้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการล่วงละเมิดทางเพศ ให้มีกลไกและกระบวนการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องที่ชัดเจน
ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากงานวิจัยพบว่าปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายแรงงานในการเอาผิดผู้คุกคามทางเพศ ทำให้ไม่ครอบคลุมการจ้างงานในภาคราชการ และงานนอกระบบ เช่น คนรับใช้ตามบ้าน ลูกจ้างร้านค้า ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการคุกคามทางเพศ ส่วนหน่วยงานราชการ มีเพียงการพยายามเอาผิดทางวินัย แต่เมื่อผู้คุกคามเป็นผู้บังคับบัญชาทำให้ไม่กล้าที่จะฟ้องร้อง ซึ่งรวมถึงสถานศึกษา ก็ไม่มีกฎหมายเอาผิดอย่างชัดเจน ทำให้เหยื่อต้องใช้ช่องทางกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อเหยื่อหรือผู้เสียหายเกรงที่จะอับอายก็มักไม่กล้าร้องทุกข์
ด้านนางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า มูลนิธิฯ ยังได้รับการร้องเรียนอย่างต่อเนื่องการถูกคุมคามทางเพศ จากลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และข้าราชการในหน่วยงานความมั่นคง สถาบันการศึกษา ว่าถูกผู้บังคับบัญชาล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งมีตั้งแต่การกอดจูบ พาเข้าโรงแรม และรุนแรงถึงข่มขืนกระทำชำเรา โดยอาศัยการทำงานรับใช้ที่ใกล้ชิด และความไว้วางใจผู้บังคับบัญชา และยังพบว่า ปัจจุบันลูกจ้างในส่วนราชการ โดยเฉพาะระดับจังหวัดถูกล่วงละเมิดมากขึ้น เนื่องจากถูกใช้อำนาจการจ้างงานต่อเป็นข้อต่อรอง และเมื่อถูกละเมิดกระบวนการต่อสู้กับผู้บังคับบัญชาทำให้ผู้ร้องเรียนถูกสั่งพักราชการและตั้งกรรมการสอบวินัย ทำให้หลายคนไม่กล้าร้องทุกข์ ดังนั้น จึงควรที่จะมีกฎหมายอย่างชัดเจน มีกระบวนการฟ้องร้องอย่างชัดเจน
นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี กล่าวอภิปรายในหัวข้อ “ความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศมาเป็นพระราชบัญญัติ” โดยเสนอแนะให้องค์กรเครือข่ายผลักดันแก้ไขกฎหมายอาญาก่อน โดยให้เพิ่มโทษหนักขึ้นจากการคุกคามทางเพศ โดยผู้มีอำนาจเหนือกว่าหรือผู้บังคับบัญชา และให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเข้ามาเอาผิดร่วมด้วย เพราะการแก้กฎหมายอาญาจะทำให้มีกลไกบังคับใช้ได้เร็วกว่าการร่างเป็น พ.ร.บ. ซึ่งต้องใช้เวลาผลักดันนาน
ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากงานวิจัยพบว่าปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายแรงงานในการเอาผิดผู้คุกคามทางเพศ ทำให้ไม่ครอบคลุมการจ้างงานในภาคราชการ และงานนอกระบบ เช่น คนรับใช้ตามบ้าน ลูกจ้างร้านค้า ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการคุกคามทางเพศ ส่วนหน่วยงานราชการ มีเพียงการพยายามเอาผิดทางวินัย แต่เมื่อผู้คุกคามเป็นผู้บังคับบัญชาทำให้ไม่กล้าที่จะฟ้องร้อง ซึ่งรวมถึงสถานศึกษา ก็ไม่มีกฎหมายเอาผิดอย่างชัดเจน ทำให้เหยื่อต้องใช้ช่องทางกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อเหยื่อหรือผู้เสียหายเกรงที่จะอับอายก็มักไม่กล้าร้องทุกข์
ด้านนางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า มูลนิธิฯ ยังได้รับการร้องเรียนอย่างต่อเนื่องการถูกคุมคามทางเพศ จากลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และข้าราชการในหน่วยงานความมั่นคง สถาบันการศึกษา ว่าถูกผู้บังคับบัญชาล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งมีตั้งแต่การกอดจูบ พาเข้าโรงแรม และรุนแรงถึงข่มขืนกระทำชำเรา โดยอาศัยการทำงานรับใช้ที่ใกล้ชิด และความไว้วางใจผู้บังคับบัญชา และยังพบว่า ปัจจุบันลูกจ้างในส่วนราชการ โดยเฉพาะระดับจังหวัดถูกล่วงละเมิดมากขึ้น เนื่องจากถูกใช้อำนาจการจ้างงานต่อเป็นข้อต่อรอง และเมื่อถูกละเมิดกระบวนการต่อสู้กับผู้บังคับบัญชาทำให้ผู้ร้องเรียนถูกสั่งพักราชการและตั้งกรรมการสอบวินัย ทำให้หลายคนไม่กล้าร้องทุกข์ ดังนั้น จึงควรที่จะมีกฎหมายอย่างชัดเจน มีกระบวนการฟ้องร้องอย่างชัดเจน
นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี กล่าวอภิปรายในหัวข้อ “ความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศมาเป็นพระราชบัญญัติ” โดยเสนอแนะให้องค์กรเครือข่ายผลักดันแก้ไขกฎหมายอาญาก่อน โดยให้เพิ่มโทษหนักขึ้นจากการคุกคามทางเพศ โดยผู้มีอำนาจเหนือกว่าหรือผู้บังคับบัญชา และให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเข้ามาเอาผิดร่วมด้วย เพราะการแก้กฎหมายอาญาจะทำให้มีกลไกบังคับใช้ได้เร็วกว่าการร่างเป็น พ.ร.บ. ซึ่งต้องใช้เวลาผลักดันนาน