นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งไล่ออกพนักงาน รฟท. ประจำสาขาหาดใหญ่ จำนวน 6 คน ดังนี้ นายธวัชชัย บุญวิสูตร ช่างเครื่อง 5 นายสรวุฒิ พ่อทองคำ ช่างเครื่อง 5 นายสาโรจน์ รักจันทร์ ช่างเครื่อง 5 นายประชานิวัฒน์ บัวศรี พนักงานรถจักร 6 นายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม พนักงานรถจักร 6 และ นายนิตินัย ไชยภูมิ นายสถานีบางกล่ำ ฝ่ายการเดินรถ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีความผิดชัดเจน โดยกระทำการละทิ้งหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมขัดขวางการเดินรถไฟให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งมีโทษร้ายแรงสามารถลงโทษได้ทันทีโดยไม่ต้องสอบสวน และมีผลตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังจะมีคำสั่งห้ามบุคคลดังกล่าวเข้ามาภายในบริเวณสถานีรถไฟ เพื่อป้องกันการสร้างความวุ่นวายในการเดินรถไฟ
อย่างไรก็ตาม เพื่อความยุติธรรมกับผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เปิดโอกาสให้พนักงานทั้ง 6 คน สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำสั่ง
ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบพนักงาน รฟท. ประจำสาขาหาดใหญ่อีก 4 คน ว่ามีพฤติกรรมที่ขัดขวางการเดินรถไฟหรือไม่ หากพบว่ามีความผิดชัดเจนก็จะพิจารณาลงโทษต่อไป
นอกจากนี้ยังมีพนักงานที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย อีก 2 คน คือ นายภิญโญ เรือนเพ็ชร พนักงานขับรถ และ นายบรรจง บุญเนตร์ ช่างฝีมือ 5 งานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถโดยสาร ที่มีพฤติกรรมยั่วยุให้พนักงาน รฟท.หยุดปฏิบัติงาน โดยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงให้พนักงาน รฟท.ที่สถานีรถไฟบางซื่อ หยุดงาน ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาให้หยุดเดินรถไฟ และเป็นการละเมิดคำสั่งศาล ที่ห้ามบุคคลใดขัดขวางการเดินรถไฟ รวมทั้งเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ที่ให้พนักงานเดินรถไฟ ทาง รฟท.จึงฟ้องศาลแรงงานกลาง และขอให้ศาลพิจารณาเลิกจ้าง และให้บุคคลทั้งสอง จ่ายเงินชดเชยความสูญเสียจากการหยุดเดินรถไฟ เป็นเงินจำนวน 70 ล้านบาท ซึ่งศาลนัดไต่สวนวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาคดีไม่ช้า
อย่างไรก็ตาม เพื่อความยุติธรรมกับผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เปิดโอกาสให้พนักงานทั้ง 6 คน สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำสั่ง
ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบพนักงาน รฟท. ประจำสาขาหาดใหญ่อีก 4 คน ว่ามีพฤติกรรมที่ขัดขวางการเดินรถไฟหรือไม่ หากพบว่ามีความผิดชัดเจนก็จะพิจารณาลงโทษต่อไป
นอกจากนี้ยังมีพนักงานที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย อีก 2 คน คือ นายภิญโญ เรือนเพ็ชร พนักงานขับรถ และ นายบรรจง บุญเนตร์ ช่างฝีมือ 5 งานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถโดยสาร ที่มีพฤติกรรมยั่วยุให้พนักงาน รฟท.หยุดปฏิบัติงาน โดยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงให้พนักงาน รฟท.ที่สถานีรถไฟบางซื่อ หยุดงาน ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาให้หยุดเดินรถไฟ และเป็นการละเมิดคำสั่งศาล ที่ห้ามบุคคลใดขัดขวางการเดินรถไฟ รวมทั้งเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ที่ให้พนักงานเดินรถไฟ ทาง รฟท.จึงฟ้องศาลแรงงานกลาง และขอให้ศาลพิจารณาเลิกจ้าง และให้บุคคลทั้งสอง จ่ายเงินชดเชยความสูญเสียจากการหยุดเดินรถไฟ เป็นเงินจำนวน 70 ล้านบาท ซึ่งศาลนัดไต่สวนวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาคดีไม่ช้า