การประชุมอาเซียน +3 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามวาระปกติ และไทยต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศภาคี เนื่องจากการประชุมที่ล้มเหลวเมื่อเดือนเมษายน รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมือง นับเป็นปัญหาใหม่ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ทำให้การกระชับความร่วมมือไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เพราะปัจจัยดังกล่าวบั่นทอนความเชื่อมั่นของอาเซียนในเวทีโลก แม้ว่าจะมีกฎบัตรอาเซียนบังคับใช้กับประเทศภาคีก็ตาม แต่การมีนโยบายไม่แทรกแซงกันในเรื่องการเมือง และสิทธิมนุษยชน ทำให้อาเซียนถูกมองจากประเทศนอกกลุ่มว่าเป็นเสื้อกระดาษ
ศาสตราจารย์พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจไม่ให้เดินหน้า ดังนั้นหากลดความแตกต่างทางความคิดได้ ฝ่ายการเมืองจะมีเวลาดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น
ศาสตราจารย์พรายพลเชื่อว่า หากรัฐบาลแต่ละสมัยดำเนินนโยบายที่ต่อเนื่องหรือผูกพันโครงการในระยะยาว การเปลี่ยนรัฐบาลไม่นับเป็นปัญหาของไทย
ศาสตราจารย์พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจไม่ให้เดินหน้า ดังนั้นหากลดความแตกต่างทางความคิดได้ ฝ่ายการเมืองจะมีเวลาดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น
ศาสตราจารย์พรายพลเชื่อว่า หากรัฐบาลแต่ละสมัยดำเนินนโยบายที่ต่อเนื่องหรือผูกพันโครงการในระยะยาว การเปลี่ยนรัฐบาลไม่นับเป็นปัญหาของไทย