นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปัจจุบันมีผู้นำรถตู้ส่วนบุคคลมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารในลักษณะเดียวกันกับรถโดยสารประจำทางอยู่ทั่วประเทศกว่า 6,400 คัน ใน 60 เส้นทาง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการจัดระเบียบการขนส่งผู้โดยสารและเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาอาชญากรรม ผู้โดยสารจะไม่ได้รับการคุ้มครอง ครบถ้วนตามกฎหมาย
สำหรับการจัดระเบียบรถตู้เถื่อนในระยะแรก จะพิจารณาจากรถที่วิ่งจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดในระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร(จำนวน 28 จังหวัด) ให้สามารถประกอบการขนส่งและจดทะเบียนรถเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้อง โดยให้เจ้าของรถเตรียมเอกสาร ได้แก่ สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถของคันที่ให้บริการ พร้อมรูปถ่ายรถตู้โดยสารที่เห็นหมายเลขทะเบียนอย่างชัดเจน และสำเนาบัตรประชาชน และหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบสั่ง หรือใบเสร็จรับเงินค่าปรับจากเจ้าพนักงานตำรวจจราจร หรือผู้ตรวจการของกรมการขนส่งทางบก ส่วนผู้มาลงทะเบียนในวันนี้ กรมการขนส่งทางบกจะประสานให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เป็นผู้รับลงทะเบียนและรวบรวมข้อมูลการเดินรถของรถตู้ที่มาลงทะเบียน เพื่อพิจารณากำหนดเส้นทางเดินรถไม่ให้เกิดปัญหากับรถโดยสารที่มีอยู่
สำหรับการจัดระเบียบรถตู้เถื่อนในระยะแรก จะพิจารณาจากรถที่วิ่งจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดในระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร(จำนวน 28 จังหวัด) ให้สามารถประกอบการขนส่งและจดทะเบียนรถเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้อง โดยให้เจ้าของรถเตรียมเอกสาร ได้แก่ สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถของคันที่ให้บริการ พร้อมรูปถ่ายรถตู้โดยสารที่เห็นหมายเลขทะเบียนอย่างชัดเจน และสำเนาบัตรประชาชน และหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบสั่ง หรือใบเสร็จรับเงินค่าปรับจากเจ้าพนักงานตำรวจจราจร หรือผู้ตรวจการของกรมการขนส่งทางบก ส่วนผู้มาลงทะเบียนในวันนี้ กรมการขนส่งทางบกจะประสานให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เป็นผู้รับลงทะเบียนและรวบรวมข้อมูลการเดินรถของรถตู้ที่มาลงทะเบียน เพื่อพิจารณากำหนดเส้นทางเดินรถไม่ให้เกิดปัญหากับรถโดยสารที่มีอยู่