การประชุมของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และวุฒิสภา หรือวิป 3 ฝ่าย กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นบรรยากาศและเหตุผลหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์หยิบยกมาแถลงแสดงความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองไทยที่จะเดินหน้าและเกิดความสำเร็จได้ ซึ่งเห็นว่าภายใน 3-4 เดือนนี้ กรอบของการแก้ไขและแนวทางการดำเนินการจะชัดเจน โดยท้ายที่สุดคือการทำประชามติ จึงขอให้ทุกฝ่ายยุติการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งหรือขัดขวางกลไกการปฏิรูปการเมือง ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550
นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าหลักการการปฏิรูปการเมืองด้วยความสำเร็จ อยู่ที่การใช้กลไกของรัฐสภา การวางกรอบของฝ่ายการเมืองที่ชัดเจน และการทำประชามติ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ระหว่างการสัมมนาสมาชิกพรรคเพื่อไทย เรื่อง ล้างหนี้ประเทศไทย สร้างรายได้ประชาชน ที่ จ.ขอนแก่น วันที่ 2 โดยยอมรับว่า อำนาจการยุบสภาเป็นของนายกรัฐมนตรี ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะตัดสินใจ แต่โดยส่วนตัวนั้นเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ควรยกเลิกทั้งฉบับ มากกว่าจะแก้ไขเพียง 6 มาตรา ดังนั้นเห็นว่าการทำประชามติสอบถามความเห็นประชาชน ควรถามว่า จะยกเลิกหรือใช้ต่อไป เพื่อให้คุ้มค่าต่องบปาะมาณการดำเนินการกว่า 1,200 ล้านบาท
ร.ต.อ.เฉลิม แสดงความเชื่อมั่นว่า ประสบการณ์การเมืองของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี จะช่วยให้การทำงานของพรรคเป็นระบบยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงตำแหน่งในพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรคที่ พล.อ.ชวลิต ถูกวางตัวให้รับหน้าที่
นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าหลักการการปฏิรูปการเมืองด้วยความสำเร็จ อยู่ที่การใช้กลไกของรัฐสภา การวางกรอบของฝ่ายการเมืองที่ชัดเจน และการทำประชามติ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ระหว่างการสัมมนาสมาชิกพรรคเพื่อไทย เรื่อง ล้างหนี้ประเทศไทย สร้างรายได้ประชาชน ที่ จ.ขอนแก่น วันที่ 2 โดยยอมรับว่า อำนาจการยุบสภาเป็นของนายกรัฐมนตรี ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะตัดสินใจ แต่โดยส่วนตัวนั้นเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ควรยกเลิกทั้งฉบับ มากกว่าจะแก้ไขเพียง 6 มาตรา ดังนั้นเห็นว่าการทำประชามติสอบถามความเห็นประชาชน ควรถามว่า จะยกเลิกหรือใช้ต่อไป เพื่อให้คุ้มค่าต่องบปาะมาณการดำเนินการกว่า 1,200 ล้านบาท
ร.ต.อ.เฉลิม แสดงความเชื่อมั่นว่า ประสบการณ์การเมืองของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี จะช่วยให้การทำงานของพรรคเป็นระบบยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงตำแหน่งในพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรคที่ พล.อ.ชวลิต ถูกวางตัวให้รับหน้าที่