กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัย "พายุ กิสนา " ฉบับที่ 3 (154/2552) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552
พายุไต้ฝุ่น “กิสนา ” (KETSANA) บริเวณทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 19.00 น.(28 ก.ย.52) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 350 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันพรุ่งนี้(29 ก.ย.52) และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณแนวจังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 30 กันยายน 2552 นี้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บางพื้นที่ โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนในวันที่ 29 กันยายน 2552 ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงทำให้คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
พายุไต้ฝุ่น “กิสนา ” (KETSANA) บริเวณทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 19.00 น.(28 ก.ย.52) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 350 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันพรุ่งนี้(29 ก.ย.52) และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณแนวจังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 30 กันยายน 2552 นี้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บางพื้นที่ โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนในวันที่ 29 กันยายน 2552 ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงทำให้คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้