กรณีโรงเรียนเรวดี ย่านประดิพัทธิ์ จะปิดกิจการในปีการศึกษา 2553 โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ปี 2550 ในมาตรา 159 ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินให้แก่โรงเรียน และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหรือบริษัท นั้น นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช. ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ปี 50 เนื่องจากโรงเรียนเรวดีได้รับการยกเว้นไม่ต้องโอนที่ดินและทรัพย์สินเป็นของนิติบุคคล เนื่องจากเปิดกิจการมาก่อนบังคับใช้กฎหมาย
เลขาธิการ สช. กล่าวด้วยว่า ภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายโรงเรียนเอกชน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2551 มีโรงเรียนเอกชนจะขอยกเลิกกิจการ โดยในปี 2551 มีการขอจัดตั้ง จำนวน 420 แห่ง และขอยกเลิก 78 แห่ง ส่วนในปี 2552 ขอจัดตั้ง 135 แห่ง และยกเลิก 53 แห่ง จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนอย่างแน่นอน
ขณะนี้ ผู้บริหารโรงเรียนเรวดียังไม่ยื่นเรื่องขอปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียน และครู ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา เพื่อหาสถานที่เรียนใหม่ได้ทัน และหากปิดโรงเรียนจริง สช.จะประสานหาที่เรียนใหม่ให้กับนักเรียน รวมถึงหาสถานที่ทำงานให้กับครูและบุคลากรของโรงเรียน
เลขาธิการ สช. กล่าวด้วยว่า ภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายโรงเรียนเอกชน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2551 มีโรงเรียนเอกชนจะขอยกเลิกกิจการ โดยในปี 2551 มีการขอจัดตั้ง จำนวน 420 แห่ง และขอยกเลิก 78 แห่ง ส่วนในปี 2552 ขอจัดตั้ง 135 แห่ง และยกเลิก 53 แห่ง จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนอย่างแน่นอน
ขณะนี้ ผู้บริหารโรงเรียนเรวดียังไม่ยื่นเรื่องขอปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียน และครู ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา เพื่อหาสถานที่เรียนใหม่ได้ทัน และหากปิดโรงเรียนจริง สช.จะประสานหาที่เรียนใหม่ให้กับนักเรียน รวมถึงหาสถานที่ทำงานให้กับครูและบุคลากรของโรงเรียน