การประชุม จี 20 ที่จะมีนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วมประชุมในฐานะประธานอาเซียน จะมีขึ้นในเมืองพิตสเบิร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายนนี้ เป็นการประชุมที่จะวางแผนกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกจากนี้ต่อไป โดยมีประเทศสมาชิก ยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มของ BRIC ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน น้องใหม่มาแรงด้านเศรษฐกิจ ซึ่งพยายามเพิ่มบทบาทโดยการกระทุ้งยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ ว่าการประชุม จี 20 ครั้งนี้ ให้มาร่วมวางและร่างนโยบายเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤต ไม่ควรช้าและปล่อยให้เกิดเหตุซ้ำรอย ที่สำคัญจะเป็นการต่อรองอำนาจในกลุ่มสมาชิกการประชุม จี 20 ครั้งก่อน จากกรุงลอนดอน หรือลอนดอนซัมมิท
หลายคนจับตาไปที่จีน ที่ต้องการเพิ่มบทบาทมากขึ้น แต่ไม่ง่ายเพราะประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามกีดกัน เนื่องจากเกรงว่าประเทศจะถูกลดความสำคัญลง แต่เอเชียวันนี้ต่างจากเมื่อ 5-10 ปี โดยสิ้นเชิง เพราะเศรษฐกิจเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น หลายประเทศเติบโตติดลบ แต่จีนและอินเดียต่างมุ่งให้เศรษฐกิจของตัวเองเติบโตเป็นเลข 2 หลัก รวมทั้งยังมีความร่วมมือกับอีก 2 ประเทศในกลุ่มบลิก รุกคืบ ทั้งเรียกร้องสิทธิเพื่อออกเสียงในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ให้มากขึ้น อีกทั้งแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับออสเตรเลีย ที่ต้องการให้รัฐบาลนานาประเทศเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
คาดว่าจะมีรายงานจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ ว่าคนว่างงานทั่วโลก อาจสูงถึง 241 ล้านคนในปีนี้ หรือสูงสุดในรอบ 19 ปีตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยสร้างแรงงานได้ประมาณ 7-11 ล้านคน ที่สำคัญการปฏิรูปการกำกับดูแลภาคการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น ทั้งข้อบังคับ การตรวจสอบ ความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ทั้งประธานาธิบดีบารัก โอบามา และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี เห็นตรงกันว่า ควรปรับวัฒนธรรมการจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารสถาบันการเงิน ไม่ให้มุ่งไปที่ผลกำไรจนลืมความมั่นคงของระบบการเงิน
ขณะที่ ผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ชี้ว่า ควรปรับการบริโภคให้สมดุลมากขึ้น เช่น ลดการบริโภคในประเทศพัฒนาแล้วและเพิ่มการบริโภคในตลาดเกิดใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ที่ต้องจับตาคือ ท่าทีของจีนและสหรัฐฯ ที่กำลังมีเรื่องขัดแย้งทางการค้า ในเรื่องการขึ้นภาษียางของสหรัฐฯ ที่จีนคัดค้าน มีการเตรียมพูดคุยกันในเรื่องนี้
หลายคนจับตาไปที่จีน ที่ต้องการเพิ่มบทบาทมากขึ้น แต่ไม่ง่ายเพราะประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามกีดกัน เนื่องจากเกรงว่าประเทศจะถูกลดความสำคัญลง แต่เอเชียวันนี้ต่างจากเมื่อ 5-10 ปี โดยสิ้นเชิง เพราะเศรษฐกิจเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น หลายประเทศเติบโตติดลบ แต่จีนและอินเดียต่างมุ่งให้เศรษฐกิจของตัวเองเติบโตเป็นเลข 2 หลัก รวมทั้งยังมีความร่วมมือกับอีก 2 ประเทศในกลุ่มบลิก รุกคืบ ทั้งเรียกร้องสิทธิเพื่อออกเสียงในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ให้มากขึ้น อีกทั้งแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับออสเตรเลีย ที่ต้องการให้รัฐบาลนานาประเทศเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
คาดว่าจะมีรายงานจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ ว่าคนว่างงานทั่วโลก อาจสูงถึง 241 ล้านคนในปีนี้ หรือสูงสุดในรอบ 19 ปีตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยสร้างแรงงานได้ประมาณ 7-11 ล้านคน ที่สำคัญการปฏิรูปการกำกับดูแลภาคการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น ทั้งข้อบังคับ การตรวจสอบ ความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ทั้งประธานาธิบดีบารัก โอบามา และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี เห็นตรงกันว่า ควรปรับวัฒนธรรมการจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารสถาบันการเงิน ไม่ให้มุ่งไปที่ผลกำไรจนลืมความมั่นคงของระบบการเงิน
ขณะที่ ผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ชี้ว่า ควรปรับการบริโภคให้สมดุลมากขึ้น เช่น ลดการบริโภคในประเทศพัฒนาแล้วและเพิ่มการบริโภคในตลาดเกิดใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ที่ต้องจับตาคือ ท่าทีของจีนและสหรัฐฯ ที่กำลังมีเรื่องขัดแย้งทางการค้า ในเรื่องการขึ้นภาษียางของสหรัฐฯ ที่จีนคัดค้าน มีการเตรียมพูดคุยกันในเรื่องนี้