นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุมิสภา กล่าวว่า การที่ลงไปรับญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของความบังเอิญ และที่ผ่านมาไม่เคยคิดที่จะชะลอเรื่องไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ ส.ว.มีเวลามาถอนรายชื่อตามที่เป็นข่าว เพราะเมื่อได้รับเรื่องได้ส่งต่อให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรทันที และไม่ทราบว่าขณะนี้มี ส.ส.และ ส.ว.ถอนชื่อไปแล้วจำนวนเท่าใด เพราะเป็นเรื่องของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร
ขณะที่นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน ได้เดินทางมาแสดงความประสงค์ต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอยื่นเรื่องถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.ที่ร่วมกันเสนอญัญติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ดังนั้น ในฐานะตัวแทนภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นที่จะขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 เพื่อดำเนินการถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.ที่ร่วมกันลงชื่อในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรล่าสุด เมื่อเวลา 10.00 น. ได้มีการส่งญัตติการแก้ไขรัฐธรรมให้ประธานสภาผู้แทนราษฏรแล้ว โดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อทั้งหมด 133 คน จากจำนวนสมาชิกทั้ง 2 สภารวม 622 คน ซึ่งถ้าใช้สมาชิกจำนวน 1 ใน 5 ต้องมี ส.ส.และ ส.ว.ร่วมลงรายชื่อ 125 คน
ขณะที่นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน ได้เดินทางมาแสดงความประสงค์ต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอยื่นเรื่องถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.ที่ร่วมกันเสนอญัญติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ดังนั้น ในฐานะตัวแทนภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นที่จะขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 เพื่อดำเนินการถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.ที่ร่วมกันลงชื่อในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรล่าสุด เมื่อเวลา 10.00 น. ได้มีการส่งญัตติการแก้ไขรัฐธรรมให้ประธานสภาผู้แทนราษฏรแล้ว โดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อทั้งหมด 133 คน จากจำนวนสมาชิกทั้ง 2 สภารวม 622 คน ซึ่งถ้าใช้สมาชิกจำนวน 1 ใน 5 ต้องมี ส.ส.และ ส.ว.ร่วมลงรายชื่อ 125 คน