นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงการควบคุมดูแล นายศิริมงคล เอี่ยมท้วม หรือ ศิริมงคล สิงห์วังชา อดีตนักมวยชื่อดังที่ถูกจับกุมค้ายาเสพติด ว่า ขณะนี้ศิริมงคล ถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำพิเศษพัทยา หลังศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยตนได้กำชับให้ทางเรือนจำดูแลนายศิริมงคลให้เท่าเทียมกับนักโทษรายอื่นๆ ห้ามมีอภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ในระยะแรกที่ถูกคุมขังนักโทษใหม่อาจจะมีความเครียด จึงต้องให้เพื่อนร่วมแดนช่วยดูแล
อย่างไรก็ตาม นายศิริมงคล จัดอยู่ในกลุ่มนักโทษระหว่างการพิจารณาคดี จึงยังไม่ต้องทำงานหรือฝึกอาชีพในเรือนจำ แต่หากเจ้าตัวต้องการช่วยงานด้านฝึกสอนมวยในเรือนจำก็สามารถทำได้ โดยกรมราชทัณฑ์จะพิจารณาอีกครั้งหลังจากนายศิริมงคลถูกตัดสินคดีเด็ดขาดแล้วว่าจะควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำใด ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายศิริมงคล ก็เคยเข้าไปเป็นครูฝึกสอนมวยให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ
นายนัทธี กล่าวต่อว่า ขณะนี้ตนมีแนวความคิดที่จะว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาช่วยงานควบคุมดูแลนักโทษ เนื่องจากศาลยุติธรรมเปิดศาลในจังหวัดต่างๆ เพิ่มอีก 10 แห่ง ทำให้กรมราชทัณฑ์ต้องเปิดเรือนจำใหม่ตามจำนวนศาลที่จัดตั้งขึ้น อาทิ เรือนจำหัวหิน เรือนจำวิเชียรบุรี เรือนจำปาย เป็นต้น หากโครงการจัดจ้างบริษัทเอกชนเข้าช่วยงานดูแลนักโทษได้รับอนุมัติจากกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์จะมอบหมายให้เอกชนร่วมดูแลงานควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั่วประเทศ ประมาณ 10,000 คน และมีเรือนจำต่อทัณฑสถาน 143 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม นายศิริมงคล จัดอยู่ในกลุ่มนักโทษระหว่างการพิจารณาคดี จึงยังไม่ต้องทำงานหรือฝึกอาชีพในเรือนจำ แต่หากเจ้าตัวต้องการช่วยงานด้านฝึกสอนมวยในเรือนจำก็สามารถทำได้ โดยกรมราชทัณฑ์จะพิจารณาอีกครั้งหลังจากนายศิริมงคลถูกตัดสินคดีเด็ดขาดแล้วว่าจะควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำใด ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายศิริมงคล ก็เคยเข้าไปเป็นครูฝึกสอนมวยให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ
นายนัทธี กล่าวต่อว่า ขณะนี้ตนมีแนวความคิดที่จะว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาช่วยงานควบคุมดูแลนักโทษ เนื่องจากศาลยุติธรรมเปิดศาลในจังหวัดต่างๆ เพิ่มอีก 10 แห่ง ทำให้กรมราชทัณฑ์ต้องเปิดเรือนจำใหม่ตามจำนวนศาลที่จัดตั้งขึ้น อาทิ เรือนจำหัวหิน เรือนจำวิเชียรบุรี เรือนจำปาย เป็นต้น หากโครงการจัดจ้างบริษัทเอกชนเข้าช่วยงานดูแลนักโทษได้รับอนุมัติจากกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์จะมอบหมายให้เอกชนร่วมดูแลงานควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั่วประเทศ ประมาณ 10,000 คน และมีเรือนจำต่อทัณฑสถาน 143 แห่งทั่วประเทศ