นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการขนส่งทางคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวในงานสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นการจัดทำแผนแก้ไขอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนน สำหรับรถไฟทางไกล ว่า ต้องการรับฟังความเห็นเพื่อนำไปทำแผนและสร้างเครื่องป้องกันต่างๆ ทั้งแผงกั้น การติดตั้งสัญญาณจราจร การสร้างทางต่างระดับ โดยในเฟสแรกจะพัฒนาจุดตัดรถไฟกับถนนในระยะไม่เกิน 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่น นครสวรรค์ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากปัจจุบันรถไฟมีเส้นทางครอบคลุม 47 จังหวัด ระยะทาง 4,000 กิโลเมตร มีจุดตัดถึง 2,400 แห่ง เฉลี่ยทุก 2-3 กิโลเมตร จะมีจุดตัด 1 จุด และจะมีจุดตัดที่ได้รับอนุญาต 1,900 แห่ง แต่มีจุดตัดในพื้นที่ต่างๆ ที่ชาวบ้านสร้างถนนตัดผ่านเอง หรือจุดลักผ่านถึง 538 แห่ง ในช่วง 2549-2551 มีอุบัติถึง 120 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 50-70 ราย บาดเจ็บ 130 คน มีมูลค่าความเสียหายกว่า 300 ล้านบาทต่อปี และอุบัติเหตุบางครั้งต้องใช้เงินซ่อมรถหัวจักรนับร้อยล้านบาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่า เส้นทางรถไฟที่มีจุดตัดกับกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเส้นทางขนาดใหญ่ มักมีการสร้างทางต่างระดับถึงร้อยละ 99 ขณะที่เส้นทางของกรมทางหลวงชนบทจะมีเครื่องกั้นทางรถไฟ แต่พื้นที่ของเทศบาล อบต. มีเพียงสัญญาณจราจร ดังนั้น แนวโน้มเมื่อมีการจราจรมากขึ้น ระหว่างจุดตัดดังกล่าว จึงเตรียมเสนอให้กระทรวงการคลังทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานดังกล่าว เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มมีรายได้มากขึ้น จึงสามารถสร้างทางต่างระดับได้ การสร้างรั้วรอบทางรถไฟในชุมชน หรืออาจจะให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดูแลการเปิดปิดสัญญาณ เชื่อว่าจะลดอุบัติเหตุได้
ทั้งนี้ ยอมรับว่า เส้นทางรถไฟที่มีจุดตัดกับกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเส้นทางขนาดใหญ่ มักมีการสร้างทางต่างระดับถึงร้อยละ 99 ขณะที่เส้นทางของกรมทางหลวงชนบทจะมีเครื่องกั้นทางรถไฟ แต่พื้นที่ของเทศบาล อบต. มีเพียงสัญญาณจราจร ดังนั้น แนวโน้มเมื่อมีการจราจรมากขึ้น ระหว่างจุดตัดดังกล่าว จึงเตรียมเสนอให้กระทรวงการคลังทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานดังกล่าว เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มมีรายได้มากขึ้น จึงสามารถสร้างทางต่างระดับได้ การสร้างรั้วรอบทางรถไฟในชุมชน หรืออาจจะให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดูแลการเปิดปิดสัญญาณ เชื่อว่าจะลดอุบัติเหตุได้