สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วประเทศที่มีต่อ "แก๊งปาหิน" จำนวน 1,267 คน ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2552 พบว่าร้อยละ 42.86 เห็นว่าเป็นการกระทำที่แย่มาก ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ร้อยละ 32.14 ทำให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนรู้สึกกลัวและต้องคอยหวาดระแวงเมื่อขับรถในยามค่ำคืน และร้อยละ 17.86 ระบุเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ส่วนสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมดังกล่าว ร้อยละ 67.24 มาจากความคึกคะนอง / ไม่รู้จักคิด ร้อยละ 13.79 อยากดัง /เลียนแบบจากข่าวที่นำเสนอ ร้อยละ 10.34 ขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดีจากครอบครัวและร้อยละ 8.63 กฎหมายไม่เด็ดขาด /บทลงโทษยังไม่รุนแรงพอ
ด้านความรู้สึกของผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.84 รู้สึกกังวล เพราะทำให้ไม่กล้าขับรถไปต่างจังหวัดไกลๆ ในตอนกลางคืน ,รู้สึกกลัวและต้องคอยหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา ,กลัวเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ,ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจตราในตอนกลางคืน มีเพียงร้อยละ 24.13 ไม่รู้สึกกังวล เพราะปกติจะขับรถในช่วงกลางวัน ระยะทางไม่ไกลมาก
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 69.06 ไม่แน่ใจต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหิน ร้อยละ 22.30 ไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหิน ได้เพราะบทลงโทษไม่เด็ดขาด ,เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมตัวคนปาหินมาดำเนินคดีได้ มีเพียงร้อยละ 8.64 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหินได้
ส่วนวิธีการป้องกันตนเองของผู้ขับรถ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ร้อยละ 45.90 ไม่ขับรถไปต่างจังหวัดหรือขับรถระยะทางไกลๆ ในตอนกลางคืน ร้อยละ 31.15 หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เปลี่ยว มืด ไม่มีบ้านคน และร้อยละ 22.95 รีบทำธุระให้เสร็จในตอนกลางวัน สำหรับแนวทางแก้ไข ร้อยละ 70.34 ให้มีกฎหมายที่เข้มงวดและบทลงโทษที่เด็ดขาด ร้อยละ 18.75 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหมั่นตรวจตราตามบริเวณที่มีความเสี่ยง และร้อยละ 10.94 ติดตั้งเสาไฟฟ้าตลอดเส้นทางที่มืด และตัดต้นไม้ที่ปกคลุมหรือหนาทึบ
จากภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทย ณ วันนี้ ร้อยละ 68.63 มีความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจ /การขาดจิตสำนึกที่ดีของคนในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 19.60 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเมื่ออยู่นอกบ้านและร้อยละ 11.77 ระบุการไม่เอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและความหละหลวมทางด้านกฎหมาย
ด้านความรู้สึกของผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.84 รู้สึกกังวล เพราะทำให้ไม่กล้าขับรถไปต่างจังหวัดไกลๆ ในตอนกลางคืน ,รู้สึกกลัวและต้องคอยหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา ,กลัวเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ,ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจตราในตอนกลางคืน มีเพียงร้อยละ 24.13 ไม่รู้สึกกังวล เพราะปกติจะขับรถในช่วงกลางวัน ระยะทางไม่ไกลมาก
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 69.06 ไม่แน่ใจต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหิน ร้อยละ 22.30 ไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหิน ได้เพราะบทลงโทษไม่เด็ดขาด ,เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมตัวคนปาหินมาดำเนินคดีได้ มีเพียงร้อยละ 8.64 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถหยุดแก๊งปาหินได้
ส่วนวิธีการป้องกันตนเองของผู้ขับรถ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ร้อยละ 45.90 ไม่ขับรถไปต่างจังหวัดหรือขับรถระยะทางไกลๆ ในตอนกลางคืน ร้อยละ 31.15 หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เปลี่ยว มืด ไม่มีบ้านคน และร้อยละ 22.95 รีบทำธุระให้เสร็จในตอนกลางวัน สำหรับแนวทางแก้ไข ร้อยละ 70.34 ให้มีกฎหมายที่เข้มงวดและบทลงโทษที่เด็ดขาด ร้อยละ 18.75 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหมั่นตรวจตราตามบริเวณที่มีความเสี่ยง และร้อยละ 10.94 ติดตั้งเสาไฟฟ้าตลอดเส้นทางที่มืด และตัดต้นไม้ที่ปกคลุมหรือหนาทึบ
จากภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทย ณ วันนี้ ร้อยละ 68.63 มีความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจ /การขาดจิตสำนึกที่ดีของคนในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 19.60 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเมื่ออยู่นอกบ้านและร้อยละ 11.77 ระบุการไม่เอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและความหละหลวมทางด้านกฎหมาย