หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความเป็นห่วง หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มกระจายยาโอเซลทามิเวียร์ลงไปตามคลินิกต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อวานนี้ เพราะจากการเฝ้าระวังของคณะกรรมการกำกับทิศทางเพื่อพัฒนาระบบยา พบว่า เป็นการผลักภาระเรื่องยาให้กับแพทย์ ขณะที่คลินิกบางแห่งยังขาดเภสัชกรในการปรุงยาน้ำโอเซลทามิเวียร์ให้เด็ก
ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุขไม่มีการให้ข้อมูลการเก็บรักษา หรือการกินยาให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งยาต้านไวรัสชนิดนี้หากกินไม่ครบ หรือไม่ตรงเวลา อาจทำให้โรคเกิดดื้อยา ส่วนยาโอเซลทามิเวียร์ชนิดน้ำสำหรับเด็ก ไม่ควรนำมาผผสมกับนม เพราะยาจะจับแคลเซียมในนม ทำให้ตกตะกอนก้นขวด ส่งผลให้เด็กได้รับยาไม่ครบตามปริมาณที่กำหนด ทำให้ไม่หายจากโรค
ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุขไม่มีการให้ข้อมูลการเก็บรักษา หรือการกินยาให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งยาต้านไวรัสชนิดนี้หากกินไม่ครบ หรือไม่ตรงเวลา อาจทำให้โรคเกิดดื้อยา ส่วนยาโอเซลทามิเวียร์ชนิดน้ำสำหรับเด็ก ไม่ควรนำมาผผสมกับนม เพราะยาจะจับแคลเซียมในนม ทำให้ตกตะกอนก้นขวด ส่งผลให้เด็กได้รับยาไม่ครบตามปริมาณที่กำหนด ทำให้ไม่หายจากโรค