ภาพของไข่ปลอมถูกส่งต่อผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วทั้งในจีน และประเทศไทย โดยในไข่ปลอมตั้งวางขายที่มณฑลฝูเจี้ยนของประเทศจีน โดยมองจากภายนอกจะไม่พบความผิดปกติ แต่หากปรุงสุกแล้วไข่แดงจะสีสดกว่าปกติ ทั้งนี้ ทางการจีนพยายามตรวจสอบหาแหล่งทำไข่ปลอมอยู่ โดยไข่ปลอมมีต้นทุนขั้นต่ำฟองละไม่ถึง 20 สตางค์ แต่ไข่จริงต้นทุนอยู่ที่ 1 บาท - 1.20 บาท
เบื้องต้น สาธารณสุขจีน ระบุว่า ไข่ปลอมไม่มีโปรตีน และมีสารเคมีหลายชนิด เช่น สารส้ม โซเดียม อัลจิเนต(Sodium alginate) เจลาติน (gelatin) แคลเซียมคลอไรด์ และโซเดียมเบนโซเอท (Sodium benzoate )
ขณะที่ไข่แดงถูกย้อมสีด้วยเกลือ และเอสเตอร์ (Ester) ของกรดทาร์ทาริก เอซิด (Tartaric Acid) ซึ่งจะทำให้เครื่องดื่มมีฟอง ใส่ในขนมฟู รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายรูป และฟอกหนังด้วย ส่วนเปลือกของไข่ปลอมทำจากสารแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate)
ทั้งนี้ มีคำเตือนจากสาธารณสุขของจีนว่า ถ้าหากบริโภคไข่ปลอมไปนานๆ ในปริมาณที่มากจะส่งผลต่อระบบจิตประสาทที่ช้าลงด้วย
เบื้องต้น สาธารณสุขจีน ระบุว่า ไข่ปลอมไม่มีโปรตีน และมีสารเคมีหลายชนิด เช่น สารส้ม โซเดียม อัลจิเนต(Sodium alginate) เจลาติน (gelatin) แคลเซียมคลอไรด์ และโซเดียมเบนโซเอท (Sodium benzoate )
ขณะที่ไข่แดงถูกย้อมสีด้วยเกลือ และเอสเตอร์ (Ester) ของกรดทาร์ทาริก เอซิด (Tartaric Acid) ซึ่งจะทำให้เครื่องดื่มมีฟอง ใส่ในขนมฟู รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายรูป และฟอกหนังด้วย ส่วนเปลือกของไข่ปลอมทำจากสารแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate)
ทั้งนี้ มีคำเตือนจากสาธารณสุขของจีนว่า ถ้าหากบริโภคไข่ปลอมไปนานๆ ในปริมาณที่มากจะส่งผลต่อระบบจิตประสาทที่ช้าลงด้วย