การประชุมรัฐมนตรีตางประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เริ่มอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พบกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนก่อนมีพิธีเปิดการประชุม
การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน วันนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งทางการ หรือที่เรียกว่า รีทรีตส์(***) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของอาเซียนมาเป็นเวลานาน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเปิดใจคุยกันได้ทุกเรื่องก่อนจะมีการประชุมเต็มคณะในช่วงบ่าย ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะหารือกันในวันนี้ คือการรับรองร่างขอบเขตองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งได้มีการหารือกันไปอย่างเข้มข้นแล้วเมื่อวานนี้ คาดว่าในวันนี้จะสามารถให้การรับรองได้ ก่อนที่จะให้ผู้นำลงนามและประกาศจัดตั้งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
โดยองค์กรดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่าไม่มีอำนาจ ไม่มีบทบาทชัดเจนในการจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเกิดขึ้นท่ามกลางการประนีประนอมเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก ที่ยังมีประวัติในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด่นชัด เช่น ประเทศพม่า แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปปรับปรุงและแก้ไขในภายหลัง
ในช่วงบ่าย หลังการหารือที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะออกแถลงการณ์ร่วม ซึ่งคาดว่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน และการจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกองทุนเอเชีย 4.2 ล้านล้านบาท ที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มที่เชียงใหม่ ที่จะร่วมกับญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ที่จะผลักดันให้เริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ รวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วยการเสริมศักยภาพในภูมิภาค ในการป้องกันและรับมือ รวมทั้งการพัฒนาวัคซีน และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนในการป้องกันโรคได้
แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ การพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า โดยเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นการหารือกันระหว่างรับประทานอาหารเย็น นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เปิดเผยว่า อาเซียนได้เสนอความช่วยเหลือในการช่วยจัดการเลือกตั้งในพม่า ในปีหน้า ซึ่งนายญาณ วิน รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้รับทราบข้อเสนอเพื่อนำไปเสนอต่อผู้นำพม่าต่อไป และน่าจะมีการหารือในเรื่องพม่า ต่อในวันนี้ ส่วนเรื่องการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมืองทั้งหมด คาดว่าความหวังค่อนข้างริบหรี่ และคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที
เลขาธิการอาเซียน กล่าวอีกว่า ผู้แทนพม่า เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องของ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ บางข้อนั้นพม่าไม่สามารถตอบรับได้ทันที แต่การไม่ตอบรับทันทีไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลพม่าจะไม่พิจารณาในเรื่องนี้เลย
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าประกาศหลังจากเลขาธิการสหประชาชาติเยือน ว่าจะปล่อยนักโทษการเมือง แต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาและจำนวนคน ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลพม่าจับกุมสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ของนางซู จี จำนวน 20 คน หลังจากร่วมพิธีรำลึกนายพลออง ซาน ซึ่งเป็นบิดาของนางซู จี
การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน วันนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งทางการ หรือที่เรียกว่า รีทรีตส์(***) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของอาเซียนมาเป็นเวลานาน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเปิดใจคุยกันได้ทุกเรื่องก่อนจะมีการประชุมเต็มคณะในช่วงบ่าย ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะหารือกันในวันนี้ คือการรับรองร่างขอบเขตองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งได้มีการหารือกันไปอย่างเข้มข้นแล้วเมื่อวานนี้ คาดว่าในวันนี้จะสามารถให้การรับรองได้ ก่อนที่จะให้ผู้นำลงนามและประกาศจัดตั้งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
โดยองค์กรดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่าไม่มีอำนาจ ไม่มีบทบาทชัดเจนในการจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเกิดขึ้นท่ามกลางการประนีประนอมเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก ที่ยังมีประวัติในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด่นชัด เช่น ประเทศพม่า แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปปรับปรุงและแก้ไขในภายหลัง
ในช่วงบ่าย หลังการหารือที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะออกแถลงการณ์ร่วม ซึ่งคาดว่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน และการจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกองทุนเอเชีย 4.2 ล้านล้านบาท ที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มที่เชียงใหม่ ที่จะร่วมกับญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ที่จะผลักดันให้เริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ รวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วยการเสริมศักยภาพในภูมิภาค ในการป้องกันและรับมือ รวมทั้งการพัฒนาวัคซีน และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนในการป้องกันโรคได้
แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ การพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า โดยเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นการหารือกันระหว่างรับประทานอาหารเย็น นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เปิดเผยว่า อาเซียนได้เสนอความช่วยเหลือในการช่วยจัดการเลือกตั้งในพม่า ในปีหน้า ซึ่งนายญาณ วิน รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้รับทราบข้อเสนอเพื่อนำไปเสนอต่อผู้นำพม่าต่อไป และน่าจะมีการหารือในเรื่องพม่า ต่อในวันนี้ ส่วนเรื่องการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมืองทั้งหมด คาดว่าความหวังค่อนข้างริบหรี่ และคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที
เลขาธิการอาเซียน กล่าวอีกว่า ผู้แทนพม่า เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องของ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ บางข้อนั้นพม่าไม่สามารถตอบรับได้ทันที แต่การไม่ตอบรับทันทีไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลพม่าจะไม่พิจารณาในเรื่องนี้เลย
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าประกาศหลังจากเลขาธิการสหประชาชาติเยือน ว่าจะปล่อยนักโทษการเมือง แต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาและจำนวนคน ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลพม่าจับกุมสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ของนางซู จี จำนวน 20 คน หลังจากร่วมพิธีรำลึกนายพลออง ซาน ซึ่งเป็นบิดาของนางซู จี