นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "สำรวจภาวะหนี้สินระดับบุคคลและครัวเรือนกับประเด็นสำคัญทางการเมือง" กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ จำนวน 4,102 ครัวเรือน ระหว่างวันที่ 7-18 กรกฎาคม 2552 พบว่า คนไทยเกินครึ่ง หรือร้อยละ 54.5 มีหนี้สินส่วนตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 304,842.32 ต่อคน เมื่อสำรวจหนี้สินครัวเรือน พบว่าจำนวนหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 514,313.72 บาทต่อครัวเรือน โดยมีจำนวนหนี้สินครัวเรือนต่ำสุดอยู่ที่ 12,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 30,000,000 บาท
ส่วนประเด็นทางการเมืองเกี่ยวกับการลาออกของ ส.ส. และ ส.ว. หาก กกต.มีมติให้ขาดคุณสมบัติจากกรณีถือครองหุ้น พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.3 เห็นว่าควรให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมขั้นสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 40.7 เห็นว่าควรลาออกทันที
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.7 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่ายิ่งการศึกษาสูงขึ้นจะมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญลดน้อยลง ซึ่งเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งในทุกภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 67 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 64.5 ภาคเหนือ ร้อยละ 64.1 ภาคกลาง ร้อยละ 57.9 และภาคใต้ ร้อยละ 55.9 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้
ส่วนประเด็นทางการเมืองเกี่ยวกับการลาออกของ ส.ส. และ ส.ว. หาก กกต.มีมติให้ขาดคุณสมบัติจากกรณีถือครองหุ้น พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.3 เห็นว่าควรให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมขั้นสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 40.7 เห็นว่าควรลาออกทันที
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.7 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่ายิ่งการศึกษาสูงขึ้นจะมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญลดน้อยลง ซึ่งเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งในทุกภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 67 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 64.5 ภาคเหนือ ร้อยละ 64.1 ภาคกลาง ร้อยละ 57.9 และภาคใต้ ร้อยละ 55.9 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้