นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า สภาวการณ์อุตสาหกรรมผลิตอาหารในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงร้อยละ 3.5 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยที่ร้อยละ 51.5 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับลดกำลังการผลิตลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยการส่งออกอาหารพบว่ามีมูลค่า อยู่ที่ 351,118 ล้านบาท ลดลง 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม พบว่าดัชนีการผลิตในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มองว่ามีโอกาสปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก โดยคาดว่าการส่งออกที่แท้จริงจะมีการขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยภาพรวมทั้งปีการส่งออกอาหารจะมีมูลค่าอยู่ที่ 7.22 แสนล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ 7.2 โดยสินค้ากุ้ง ไก่ น้ำตาลทราย ยังมีความต้องการจากตลาดโลกเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม พบว่าดัชนีการผลิตในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มองว่ามีโอกาสปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก โดยคาดว่าการส่งออกที่แท้จริงจะมีการขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยภาพรวมทั้งปีการส่งออกอาหารจะมีมูลค่าอยู่ที่ 7.22 แสนล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ 7.2 โดยสินค้ากุ้ง ไก่ น้ำตาลทราย ยังมีความต้องการจากตลาดโลกเพิ่มขึ้น