หนังสือพิมพ์วิเคราะห์ข่าวรายสัปดาห์จากประเทศอังกฤษอีโคโนมิสต์ฉบับวางตลาดในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เสนอบทความเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นเบื้องสูงในประเทศไทย ชื่อเรื่องกบฏในโลกอินเตอร์เน็ต โดยมีการตั้งข้อสังเกตถึงการนำกฎหมายหมิ่นเบื้องสูง มาใช้ดำเนินการเอาผิดกับผู้คนส่วนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์ออนไลน์ ที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูงปรากฏอยู่ พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า รัฐบาลอยู่เบื้องหลังการสั่งให้เจ้าหน้าที่เอาผิดกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างไปจากรัฐบาล โดยกล่าวถึงการดำเนินคดีกับนางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด หนึ่งในแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกตั้งข้อหาว่าหมิ่นเบื้องสูง จากการปราศรัยบนเวทีชุมนุมของ นปช.ที่ท้องสนามหลวง
อีโคโนมิสต์รายงานด้วยว่า มีความพยายามดำเนินคดีกับคณะกรรมการบริหารสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ว่าเกี่ยวข้องกับการปาฐกถาพิเศษของนายจักรภพ เพ็ญแข เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ที่มีข้อความบางตอนถูกตำรวจตั้งข้อสังเกตว่า อาจเข้าข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของตำรวจ
ท่าทีล่าสุดจากทางรัฐบาล โดยนายปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลไม่เคยนำกฎหมายหมิ่นเบื้องสูง มาใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่าง อย่างที่มีการตั้งข้อกล่าวหา แต่การดำเนินกับผู้ต้องสงสัยว่า หมิ่นสถาบันเบื้องสูงเป็นการดำเนินการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางรัฐบาลได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความระมัดระวัง เพราะเกรงกังวลว่าจะถูกโยงให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง พร้อมกล่าวย้ำว่า การดำเนินคดีต้องยึดหลักนิติธรรม ใช้ข้อมูลและหลักฐานมาประกอบการดำเนินคดีฟ้องร้องเอาผิด ขณะเดียวกัน กลับเห็นว่า อีโคโนมิสต์รายงานข่าวเพียงด้านเดียว ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า ตำรวจสันติบาลได้สั่งห้ามจำหน่ายอีโคโนมิสต์ในประเทศไทย เพราะเห็นว่าเนื้อหาในบทความเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ และบทความกบฏในโลกอินเตอร์เน็ต เป็นบทความชิ้นที่ 3 ในรอบ 6 เดือนของนิตรสารอีโคโนมิสต์ที่เขียนเกี่ยวพันไปถึงสถาบันเบื้องสูงของไทย
อีโคโนมิสต์รายงานด้วยว่า มีความพยายามดำเนินคดีกับคณะกรรมการบริหารสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ว่าเกี่ยวข้องกับการปาฐกถาพิเศษของนายจักรภพ เพ็ญแข เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ที่มีข้อความบางตอนถูกตำรวจตั้งข้อสังเกตว่า อาจเข้าข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของตำรวจ
ท่าทีล่าสุดจากทางรัฐบาล โดยนายปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลไม่เคยนำกฎหมายหมิ่นเบื้องสูง มาใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่าง อย่างที่มีการตั้งข้อกล่าวหา แต่การดำเนินกับผู้ต้องสงสัยว่า หมิ่นสถาบันเบื้องสูงเป็นการดำเนินการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางรัฐบาลได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความระมัดระวัง เพราะเกรงกังวลว่าจะถูกโยงให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง พร้อมกล่าวย้ำว่า การดำเนินคดีต้องยึดหลักนิติธรรม ใช้ข้อมูลและหลักฐานมาประกอบการดำเนินคดีฟ้องร้องเอาผิด ขณะเดียวกัน กลับเห็นว่า อีโคโนมิสต์รายงานข่าวเพียงด้านเดียว ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า ตำรวจสันติบาลได้สั่งห้ามจำหน่ายอีโคโนมิสต์ในประเทศไทย เพราะเห็นว่าเนื้อหาในบทความเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ และบทความกบฏในโลกอินเตอร์เน็ต เป็นบทความชิ้นที่ 3 ในรอบ 6 เดือนของนิตรสารอีโคโนมิสต์ที่เขียนเกี่ยวพันไปถึงสถาบันเบื้องสูงของไทย