โครงการวิจัยเพื่อการจัดตั้งกองทุนชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ นำเสนอผลวิจัยจากการสำรวจความคิดเห็นแรงงานนอกระบบทั่วประเทศ พบว่าแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนชราภาพ เพราะเป็นการสร้างหลักประกันรายได้ในอนาคต
นางนิรมล สุธรรมกิจ นักวิจัยโครงการวิจัยเพื่อการจัดตั้งกองทุนชราภาพ ระบุว่า รูปแบบการจัดตั้งกองทุนชราภาพแก่แรงงานนอกระบบ คือการให้ประชาชนสามารถซื้อหน่วยการลงทุนได้ตามความสมัครใจ โดย 1 หน่วยลงทุนเท่ากับการส่งเงินออม 1,200 บาทต่อปี เมื่อครบระยะเวลาการออม 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 650 บาท ซึ่งหากรวมกับเบี้ยครองชีพที่รัฐบาลจ่ายให้ผู้สูงอายุอีกเดือนละ 500 บาท จะทำให้ในอนาคตเมื่อแรงงานนอกระบบเข้าสู่วัยชราภาพ จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000 บาท
นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบยังเสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบสำหรับการออม เช่นเดียวกับที่สมทบให้แรงงานในระบบตามหลักประกันสังคม
สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 7.3 ล้านคน หรือร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2573 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17.7 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
นางนิรมล สุธรรมกิจ นักวิจัยโครงการวิจัยเพื่อการจัดตั้งกองทุนชราภาพ ระบุว่า รูปแบบการจัดตั้งกองทุนชราภาพแก่แรงงานนอกระบบ คือการให้ประชาชนสามารถซื้อหน่วยการลงทุนได้ตามความสมัครใจ โดย 1 หน่วยลงทุนเท่ากับการส่งเงินออม 1,200 บาทต่อปี เมื่อครบระยะเวลาการออม 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 650 บาท ซึ่งหากรวมกับเบี้ยครองชีพที่รัฐบาลจ่ายให้ผู้สูงอายุอีกเดือนละ 500 บาท จะทำให้ในอนาคตเมื่อแรงงานนอกระบบเข้าสู่วัยชราภาพ จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000 บาท
นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบยังเสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบสำหรับการออม เช่นเดียวกับที่สมทบให้แรงงานในระบบตามหลักประกันสังคม
สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 7.3 ล้านคน หรือร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2573 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17.7 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ