นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการลงนามความร่วมมือกับนายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัด และประธานชมรม อสม. 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อร่วมกำจัดโรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และเปิดศูนย์ปฏิบัติการ หรือวอร์รูม ควบคุมการแพร่ระบาดโรคชิคุนกุนยา ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ว่า ขณะนี้โรคไข้ปวดข้อยุงลายกำลังเป็นปัญหาในจังหวัดทางภาคใต้ และในหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศในขณะนี้
กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานเชิงรุกในการควบคุมป้องกันโรค สามารถลดจำนวนผู้ป่วยในภาพรวมจากกว่า 7,000 ราย ในเดือนพฤษภาคม เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ในเดือนมิถุนายน ที่ยังน่าเป็นห่วงคือจังหวัดทางภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้มการดำเนินงานมากขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลายภาคใต้ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
ด้านนายแพทย์เสรี หงส์หยก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลายภาคใต้ กล่าวว่า ในการควบคุมป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายในภาคใต้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 3 รบ ได้แก่ 1.รบรุก โดยให้เจ้าหน้าที่ผนึกกำลังกับ อสม.ออกเอ็กซเรย์ค้นหาผู้ป่วยในทั่วทุกพื้นที่ภาคใต้ หากพบผู้ป่วยให้รีบรายงาน แจกยาทาป้องกันยุงกัดภายใน 3 วัน และนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันยุงกัด นำเชื้อไปแพร่สู่คนอื่น 2.รบเร็ว โดยเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ใด ระดมเจ้าหน้าที่ออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และยุงลายตัวแก่ภายใน 3 สัปดาห์ต่อเนื่อง และ 3.รบแรง โดยระดมทุกเครือข่าย ระดมทรัพยากรที่มี เพื่อควบคุมป้องกันโรคอย่างเต็มที่ และทำอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน มั่นใจว่าภายในกันยายน 2552 นี้ จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลงได้แน่นอน
กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานเชิงรุกในการควบคุมป้องกันโรค สามารถลดจำนวนผู้ป่วยในภาพรวมจากกว่า 7,000 ราย ในเดือนพฤษภาคม เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ในเดือนมิถุนายน ที่ยังน่าเป็นห่วงคือจังหวัดทางภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้มการดำเนินงานมากขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลายภาคใต้ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
ด้านนายแพทย์เสรี หงส์หยก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลายภาคใต้ กล่าวว่า ในการควบคุมป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายในภาคใต้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 3 รบ ได้แก่ 1.รบรุก โดยให้เจ้าหน้าที่ผนึกกำลังกับ อสม.ออกเอ็กซเรย์ค้นหาผู้ป่วยในทั่วทุกพื้นที่ภาคใต้ หากพบผู้ป่วยให้รีบรายงาน แจกยาทาป้องกันยุงกัดภายใน 3 วัน และนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันยุงกัด นำเชื้อไปแพร่สู่คนอื่น 2.รบเร็ว โดยเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ใด ระดมเจ้าหน้าที่ออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และยุงลายตัวแก่ภายใน 3 สัปดาห์ต่อเนื่อง และ 3.รบแรง โดยระดมทุกเครือข่าย ระดมทรัพยากรที่มี เพื่อควบคุมป้องกันโรคอย่างเต็มที่ และทำอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน มั่นใจว่าภายในกันยายน 2552 นี้ จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลงได้แน่นอน