นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา "15 ปี เทคโนโลยีชีวภาพ สู้วิกฤตพลังงาน ต้านภาวะโลกร้อน" โดยระบุว่า ตามที่สถาบันวิจัยพลังงานร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบันรวม 3 ระยะ สามารถช่วยประหยัดพลังงานคิดเป็นเงินรวม 450 ล้านบาทต่อปี
นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวตลอด 15 ปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จมีผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีฟาร์มเลี้ยงสัตว์อีกหลายแห่งที่รอการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงเดินหน้าส่งเสริมโครงการผลิตก๊าซจากชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ต่อระยะที่ 4 โดยใช้เงินสนับสนุนสร้างระบบก๊าซชีวภาพรวม 488 ล้านบาท มีเป้าหมายรองรับของเสียจากมูลสุกรขุนจำนวน 2 ล้านตัว รวมทั้งมีแผนจัดการของเสียและผลิตพลังงานครอบคลุมในกิจการที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างครบวงจร
ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า สนพ.ร่วมมือกับสถาบันวิจัยพลังงานจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อเปลี่ยนของเสียจากมูลสัตว์เป็นพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอด 15 ปีสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผลและผลิตก๊าซชีวภาพ ไฟฟ้า ทดแทนก๊าซหุงต้ม น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2538-2555 ว่า จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 174 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นพลังงานทดแทนไฟฟ้าที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาทต่อปี ทดแทนก๊าซหุงต้มได้ไม่ต่ำกว่า 120 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ลงนามในสัญญาซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการดังกล่าวเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 500,000 ตัน ใน 4 ปี ในส่วนของระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งมีขนาดเล็ก โดยมีสถาบันวิจัยพลังงานเป็นตัวกลางในการประสานงาน
นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวตลอด 15 ปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จมีผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีฟาร์มเลี้ยงสัตว์อีกหลายแห่งที่รอการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงเดินหน้าส่งเสริมโครงการผลิตก๊าซจากชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ต่อระยะที่ 4 โดยใช้เงินสนับสนุนสร้างระบบก๊าซชีวภาพรวม 488 ล้านบาท มีเป้าหมายรองรับของเสียจากมูลสุกรขุนจำนวน 2 ล้านตัว รวมทั้งมีแผนจัดการของเสียและผลิตพลังงานครอบคลุมในกิจการที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างครบวงจร
ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า สนพ.ร่วมมือกับสถาบันวิจัยพลังงานจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อเปลี่ยนของเสียจากมูลสัตว์เป็นพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอด 15 ปีสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผลและผลิตก๊าซชีวภาพ ไฟฟ้า ทดแทนก๊าซหุงต้ม น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2538-2555 ว่า จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 174 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นพลังงานทดแทนไฟฟ้าที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาทต่อปี ทดแทนก๊าซหุงต้มได้ไม่ต่ำกว่า 120 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ลงนามในสัญญาซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการดังกล่าวเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 500,000 ตัน ใน 4 ปี ในส่วนของระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งมีขนาดเล็ก โดยมีสถาบันวิจัยพลังงานเป็นตัวกลางในการประสานงาน