การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญเป็นพิเศษในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ จะเริ่มในเวลา 09.30 น. มีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาเรื่องด่วน พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2552
ขณะที่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 17 มิถุนายน จะเริ่มในเวลา 09.30 น. มีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล วงเงินงบประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากปีงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.9 และประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1.35 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยกำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 350,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
สำหรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลได้แบ่งรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วน คือ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1.7 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.9 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
รายจ่ายประจำปี 1,436,389.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 25,007.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 โดยรายจ่ายประจำดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84.5 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 72.3 ของปีงบประมาณ 2552
รายจ่ายลงทุน 212,689.2 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 217,272.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 50.5 โดยรายจ่ายลงทุนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.5 ของงบประมาณร้อยละ 22 ของปีงบประมาณ 2552
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 50,920.9 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 12,755 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 20 โดยรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นร้อยละ 3 ของวงเงินงบประมาณเทียบกับร้อยละ 3.3 ของปีงบประมาณ 2552
ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต เป็นวงเงินสูงถึง 506,640.2 ล้านบาท เพื่อปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โครงสร้างและประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา รองลงมาเป็นรายการค่าดำเนินการภาครัฐ 426,602.5 ล้านบาท เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งการบริหารบุคลากรภาครัฐ และการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด คือ กระทรวงศึกษาธิการ 345,665 ล้านบาท รองลงมาเป็นกระทรวงการคลัง 215,886 ล้านบาท และงบกลาง 215,006 ล้านบาท ส่วนกระทรวงมหาดไทย ได้รับการจัดสรร 185,993 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงกลาโหม ได้รับ 154,708 ล้านบาท
ขณะที่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 17 มิถุนายน จะเริ่มในเวลา 09.30 น. มีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล วงเงินงบประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากปีงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.9 และประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1.35 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยกำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 350,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
สำหรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลได้แบ่งรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วน คือ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1.7 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.9 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
รายจ่ายประจำปี 1,436,389.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 25,007.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 โดยรายจ่ายประจำดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84.5 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 72.3 ของปีงบประมาณ 2552
รายจ่ายลงทุน 212,689.2 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 217,272.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 50.5 โดยรายจ่ายลงทุนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.5 ของงบประมาณร้อยละ 22 ของปีงบประมาณ 2552
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 50,920.9 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 12,755 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 20 โดยรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นร้อยละ 3 ของวงเงินงบประมาณเทียบกับร้อยละ 3.3 ของปีงบประมาณ 2552
ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต เป็นวงเงินสูงถึง 506,640.2 ล้านบาท เพื่อปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โครงสร้างและประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา รองลงมาเป็นรายการค่าดำเนินการภาครัฐ 426,602.5 ล้านบาท เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งการบริหารบุคลากรภาครัฐ และการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด คือ กระทรวงศึกษาธิการ 345,665 ล้านบาท รองลงมาเป็นกระทรวงการคลัง 215,886 ล้านบาท และงบกลาง 215,006 ล้านบาท ส่วนกระทรวงมหาดไทย ได้รับการจัดสรร 185,993 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงกลาโหม ได้รับ 154,708 ล้านบาท