นักวิจัยอินเดียประสบความสำเร็จโคลนนิ่งกระบือด้วยเนื้อเยื่อจากตัวอ่อน เชื่อมีโอกาสรอดชีวิตสูง
นักวิจัยสถาบันวิจัยโคนมแห่งชาติของอินเดีย ที่เมืองการ์นาล รัฐหรยาณาทางภาคเหนือของอินเดียเปิดเผยว่า ลูกควายโคลนนิ่งเพศเมีย น้ำหนัก 43 กิโลกรัมซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่า การิมา ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และเชื่อว่าจะสามารถรอดชีวิตเติบโตต่อไป และว่าอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรกระบือมากที่สุด ซึ่งการโคลนนิ่งจะมีส่วนในการช่วยเพิ่มจำนวนควายที่มีลักษณะดี
อินเดียประสบความสำเร็จโคลนนิงกระบือตัวแรกด้วยเนื้อเยื่อหูของกระบือตัวเมียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ลูกกระบือตายหลังเกิดมาเพียงสัปดาห์เดียวจากการติดเชื้อปอดบวม ส่วนกรณีการิมานักวิจัยใช้เทคนิคการโคลนจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนควบคู่กับเทคนิคการคัดเลือกเพศทำให้สามารถเจาะจงเพศของสัตว์ได้ตามต้องการ
นักวิจัยสถาบันวิจัยโคนมแห่งชาติของอินเดีย ที่เมืองการ์นาล รัฐหรยาณาทางภาคเหนือของอินเดียเปิดเผยว่า ลูกควายโคลนนิ่งเพศเมีย น้ำหนัก 43 กิโลกรัมซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่า การิมา ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และเชื่อว่าจะสามารถรอดชีวิตเติบโตต่อไป และว่าอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรกระบือมากที่สุด ซึ่งการโคลนนิ่งจะมีส่วนในการช่วยเพิ่มจำนวนควายที่มีลักษณะดี
อินเดียประสบความสำเร็จโคลนนิงกระบือตัวแรกด้วยเนื้อเยื่อหูของกระบือตัวเมียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ลูกกระบือตายหลังเกิดมาเพียงสัปดาห์เดียวจากการติดเชื้อปอดบวม ส่วนกรณีการิมานักวิจัยใช้เทคนิคการโคลนจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนควบคู่กับเทคนิคการคัดเลือกเพศทำให้สามารถเจาะจงเพศของสัตว์ได้ตามต้องการ