นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่ได้พูดถึงการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ซึ่งมีการยกประเด็นว่า ภาคประชาชนควรจะมีอำนาจในการถอดถอนนักการเมืองในกรณีที่มีปัญหาในหลายด้าน อาทิ เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งตนมองว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นข้อเสนอที่ดี ที่จะให้มีองค์กรภาคประชาชน โดยทางคณะกรรมการได้รับพิจารณาไว้แล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการพูดถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 50,000 ชื่อ สามารถที่จะนำเข้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งขณะนี้มีภาคประชาชนเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่รัฐสภาแล้ว คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คปพร. ของนายแพทย์เหวง โตจิราการ แต่รัฐสภาได้เลื่อนการพิจารณามาโดยตลอด ซึ่งในประเด็นดังกล่าวที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้มีห้วงเวลาในการนำเข้าสู่การพิจารณาภายใน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม นายดิเรกยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว ที่ให้มีคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา โดยชูความสมานฉันท์เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการพูดถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 50,000 ชื่อ สามารถที่จะนำเข้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งขณะนี้มีภาคประชาชนเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่รัฐสภาแล้ว คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คปพร. ของนายแพทย์เหวง โตจิราการ แต่รัฐสภาได้เลื่อนการพิจารณามาโดยตลอด ซึ่งในประเด็นดังกล่าวที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้มีห้วงเวลาในการนำเข้าสู่การพิจารณาภายใน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม นายดิเรกยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว ที่ให้มีคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา โดยชูความสมานฉันท์เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ดีขึ้น