เวทีวิชาการการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย เรื่อง "พลังพ่อแม่ พลิกวิกฤตสู่โอกาส" ที่กรมสุขภาพจิตจัดขึ้นเป็นปีที่ 6 ได้มีการเปิดเผยผลสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทย ในปี 2550 พบว่า โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปี 2545 พบว่า มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เช่น เด็กอนุบาลอายุ 3-5 ปี มีไอคิวเฉลี่ย 110.67 จุด แต่พอโตขึ้นเข้าสู่ระดับประถมศึกษา อายุ 6-11 ปี กลับมีไอคิวลดลงเหลือ 97-31 จุด
ผลสำรวจพฤติกรรมในปี 2551 พบเยาวชนไทย มีพฤติกรรมสะสมด้านร้ายมากขึ้น เช่น เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทำผิดจนต้องเข้าสถานพินิจ จาก 40,000 คน ในปี 2550 เพิ่มเป็น 42,000 คน ในปี 2551 โดยความผิดของเด็กมีทั้งคดีลักทรัพย์ เสพยาเสพติด ทำร้ายร่างกาย อีกทั้งยังติดอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และมีความเครียดสูง หนีเรียน
ซึ่งกรมสุขภาพจิตก็ได้จัดทำแบบสำรวจต้นทุนชีวิต ของเด็กวัยเรียน เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยได้ใช้แบบสอบถามเด็ก 420 คน จาก 7 จังหวัดคือ เชียงใหม่ ราชบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ พบว่า ต้นทุนชีวิตของเด็ก ป.1-ป.3 ประเมินตนเองว่ามีมากที่สุดคือ ครูและเพื่อนที่ใส่ใจดูแลถึงร้อยละ 61 เด็ก ป.1-ป.6 ต้นทุนชีวิตมากที่สุดคือ การสนับสนุนของครอบครัว ที่ช่วยเหลือด้านการเรียน และซื่อสัตย์ ส่วนต้นทุนชีวิตที่มีน้อยที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน
ผลสำรวจพฤติกรรมในปี 2551 พบเยาวชนไทย มีพฤติกรรมสะสมด้านร้ายมากขึ้น เช่น เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทำผิดจนต้องเข้าสถานพินิจ จาก 40,000 คน ในปี 2550 เพิ่มเป็น 42,000 คน ในปี 2551 โดยความผิดของเด็กมีทั้งคดีลักทรัพย์ เสพยาเสพติด ทำร้ายร่างกาย อีกทั้งยังติดอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และมีความเครียดสูง หนีเรียน
ซึ่งกรมสุขภาพจิตก็ได้จัดทำแบบสำรวจต้นทุนชีวิต ของเด็กวัยเรียน เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยได้ใช้แบบสอบถามเด็ก 420 คน จาก 7 จังหวัดคือ เชียงใหม่ ราชบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ พบว่า ต้นทุนชีวิตของเด็ก ป.1-ป.3 ประเมินตนเองว่ามีมากที่สุดคือ ครูและเพื่อนที่ใส่ใจดูแลถึงร้อยละ 61 เด็ก ป.1-ป.6 ต้นทุนชีวิตมากที่สุดคือ การสนับสนุนของครอบครัว ที่ช่วยเหลือด้านการเรียน และซื่อสัตย์ ส่วนต้นทุนชีวิตที่มีน้อยที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน