นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และอดีตประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ด้วยเงินลงทุน 1.43 ล้านล้านบาท นับว่ามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ และคาดว่า พ.ร.ก.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะมีผลบังคับใช้ได้
นายอาชว์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลใช้สัดส่วนเงินลงทุนผ่านทั้งระบบชลประทานและช่วยเหลือภาคการเกษตรถึง 200,000 ล้านบาท ตลอดจนปรับปรุงสาธารณูปโภค จะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ เพราะการพัฒนาระบบชลประทานจะเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการแข่งขันด้านการผลิตอาหาร การเกษตร เนื่องจากในอนาคต 30-40 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,300 ล้านคน ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดและต่อไปโลกจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือประเทศผู้ผลิตอาหารและประเทศผู้นำเข้า ซึ่งไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรเพื่อป้อนตลาดโลก เมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาระบบชลประทานจึงถือเป็นแผนลงทุนที่ดี แต่อยากให้มีแผนพัฒนาระยะ 10-20 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนแนวทางที่รัฐบาลต้องการเปลี่ยนระบบดูแลสินค้าเกษตรจากการรับจำนำเป็นประกันสินค้าเกษตรล่วงหน้า รองประธานกรรมการเครือซีพี กล่าวว่า ถือเป็นแนวทางที่ดี และมีแผนต่อเนื่องมาหลายรัฐบาลแล้วเพื่อลดภาระงบประมาณรวมทั้งหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ทั้งการประกันราคา การรับจำนำ การแทรกแซงสินค้าเกษตรล้วนมีจุดอ่อนจุดแข็ง แต่สิ่งสำคัญคือ ประโยชน์ที่จะได้รับของทุกฝ่าย หากทำอย่างตรงไปตรงมา เกษตรกรจะได้ประโยชน์ ขณะที่แนวทางประกันราคาสินค้าเกษตร เห็นว่าจะดีขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐฯ และจุดสำคัญอีกอย่างคือ การดูแลขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เรียบร้อยและทั่วถึง
นายอาชว์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลใช้สัดส่วนเงินลงทุนผ่านทั้งระบบชลประทานและช่วยเหลือภาคการเกษตรถึง 200,000 ล้านบาท ตลอดจนปรับปรุงสาธารณูปโภค จะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ เพราะการพัฒนาระบบชลประทานจะเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการแข่งขันด้านการผลิตอาหาร การเกษตร เนื่องจากในอนาคต 30-40 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,300 ล้านคน ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดและต่อไปโลกจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือประเทศผู้ผลิตอาหารและประเทศผู้นำเข้า ซึ่งไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรเพื่อป้อนตลาดโลก เมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาระบบชลประทานจึงถือเป็นแผนลงทุนที่ดี แต่อยากให้มีแผนพัฒนาระยะ 10-20 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนแนวทางที่รัฐบาลต้องการเปลี่ยนระบบดูแลสินค้าเกษตรจากการรับจำนำเป็นประกันสินค้าเกษตรล่วงหน้า รองประธานกรรมการเครือซีพี กล่าวว่า ถือเป็นแนวทางที่ดี และมีแผนต่อเนื่องมาหลายรัฐบาลแล้วเพื่อลดภาระงบประมาณรวมทั้งหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ทั้งการประกันราคา การรับจำนำ การแทรกแซงสินค้าเกษตรล้วนมีจุดอ่อนจุดแข็ง แต่สิ่งสำคัญคือ ประโยชน์ที่จะได้รับของทุกฝ่าย หากทำอย่างตรงไปตรงมา เกษตรกรจะได้ประโยชน์ ขณะที่แนวทางประกันราคาสินค้าเกษตร เห็นว่าจะดีขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐฯ และจุดสำคัญอีกอย่างคือ การดูแลขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เรียบร้อยและทั่วถึง