ชาวเมืองดีทรอยต์ของรัฐมิชิแกน ของสหรัฐฯ ซึ่งทำงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ ต่างกระวนกระวายและรู้สึกเศร้าใจกับข่าวการล้มละลายของบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส หรือ จีเอ็ม บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่คู่กับสังคมอเมริกันมานานกว่า 100 ปี และนับว่าเป็นการล้มละลายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
โดยวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ผู้บริหารของบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส จะยื่นคำร้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย หลังจากไม่สามารถปรับโครงสร้างองค์กรได้ภายในกำหนดที่รัฐบาลขีดเส้นตายไว้ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือของรัฐบาล
ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการล้มละลายจะกินเวลาประมาณ 60-90 วัน และหากการพิทักษ์ทรัพย์และการปรับโครงสร้างองค์กรผ่านการล้มละลายสำเร็จ บริษัท จีเอ็ม จะเกิดใหม่ในฐานะบริษัทที่มีโครงสร้างองค์กรเล็กกว่าเดิม มีพนักงานลดลง ลดจำนวนโรงงานและร้านจัดจำหน่ายรถยนต์ลง ซึ่งจะประหยัดต้นทุนมากขึ้น แต่คาดว่าจะยังผลิตรถยนต์ 4 ยี่ห้อหลักเช่นเดิม คือ เชฟโรเลต คาร์ดิแล็ค บูอิค และจีเอ็มซี
คาดว่าประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ จะประกาศสนับสนุนการปรับโครงสร้างของบริษัท จีเอ็ม ในเวลาเที่ยงวันตามเวลาท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่เคยออกมาสนับสนุนกระบวนการล้มละลาย ด้วยการปรับโครงสร้างองงค์กรของบริษัท ไครสเลอร์ ที่ยื่นล้มละลายไปก่อนหน้านี้
เมื่อวานนี้ ทำเนียบขาวประกาศจะอัดฉีดเงินให้แก่บริษัท จีเอ็ม รวม 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ให้ไปแล้ว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากงบกู้วิกฤต 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับอนุมัติในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งการประกาศความช่วยเหลือทางการเงินเกิดขึ้นทันทีที่มีการเจรจาระหว่างผู้ถือหุ้นสถาบัน กับผู้บริหารบริษัท จีเอ็ม บรรลุผล และสามารถเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้ในที่สุด
รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารบริษัท จีเอ็ม แม้หลังกระบวนการล้มละลายรัฐบาลจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทก็ตาม
เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ คือบริษัท จีเอ็ม จะต้องปรับลดองค์กรให้ขนาดเล็กลง และถึงจุดคุ้มทุนในการขายรถยนต์ 10 ล้านคันต่อปี จากเดิมที่ต้องขาย 16 ล้านคัน ถึงจุดคุ้มทุน ซึ่งรัฐบาลจะขายหุ้นทันทีที่ถึงช่วงเวลาเหมาะสม
โดยวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ผู้บริหารของบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส จะยื่นคำร้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย หลังจากไม่สามารถปรับโครงสร้างองค์กรได้ภายในกำหนดที่รัฐบาลขีดเส้นตายไว้ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือของรัฐบาล
ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการล้มละลายจะกินเวลาประมาณ 60-90 วัน และหากการพิทักษ์ทรัพย์และการปรับโครงสร้างองค์กรผ่านการล้มละลายสำเร็จ บริษัท จีเอ็ม จะเกิดใหม่ในฐานะบริษัทที่มีโครงสร้างองค์กรเล็กกว่าเดิม มีพนักงานลดลง ลดจำนวนโรงงานและร้านจัดจำหน่ายรถยนต์ลง ซึ่งจะประหยัดต้นทุนมากขึ้น แต่คาดว่าจะยังผลิตรถยนต์ 4 ยี่ห้อหลักเช่นเดิม คือ เชฟโรเลต คาร์ดิแล็ค บูอิค และจีเอ็มซี
คาดว่าประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ จะประกาศสนับสนุนการปรับโครงสร้างของบริษัท จีเอ็ม ในเวลาเที่ยงวันตามเวลาท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่เคยออกมาสนับสนุนกระบวนการล้มละลาย ด้วยการปรับโครงสร้างองงค์กรของบริษัท ไครสเลอร์ ที่ยื่นล้มละลายไปก่อนหน้านี้
เมื่อวานนี้ ทำเนียบขาวประกาศจะอัดฉีดเงินให้แก่บริษัท จีเอ็ม รวม 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ให้ไปแล้ว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากงบกู้วิกฤต 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับอนุมัติในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งการประกาศความช่วยเหลือทางการเงินเกิดขึ้นทันทีที่มีการเจรจาระหว่างผู้ถือหุ้นสถาบัน กับผู้บริหารบริษัท จีเอ็ม บรรลุผล และสามารถเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้ในที่สุด
รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารบริษัท จีเอ็ม แม้หลังกระบวนการล้มละลายรัฐบาลจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทก็ตาม
เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ คือบริษัท จีเอ็ม จะต้องปรับลดองค์กรให้ขนาดเล็กลง และถึงจุดคุ้มทุนในการขายรถยนต์ 10 ล้านคันต่อปี จากเดิมที่ต้องขาย 16 ล้านคัน ถึงจุดคุ้มทุน ซึ่งรัฐบาลจะขายหุ้นทันทีที่ถึงช่วงเวลาเหมาะสม