นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ได้อนุมัติในหลักการปรับเพิ่มการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ที่จ่ายเงินช่วยเหลือให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จากเดิมที่กองทุนจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 120 วัน ถึง 3 ปี ในอัตราร้อยละ 30 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 3 - 6 ปี ในอัตราร้อยละ 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับเพิ่มเป็นลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน 120 วัน ถึง 3 ปี ได้รับเงิน 30 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 3 - 10 ปี ได้รับเงิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และ 10 ปี ขึ้นไป ได้รับเงิน 90 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากนี้จะเสนอต่อนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พิจารณาลงนาม ก่อนที่จะแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงขั้นตอนในการขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนให้รวดเร็วขึ้น จากเดิมที่มีขั้นตอนยุ่งยากและใช้ระยะเวลากว่า 3 เดือน ให้ลดระยะเวลาเหลือ 2 เดือน
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในปี 2551 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้จ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้าง จำนวน 3,356 คน คิดเป็นเงิน 22.5 ล้านบาท ส่วนการติดตามทวงหนี้จากนายจ้างที่ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ได้เพียง 40 ล้านบาท จากทั้งหมดกว่า 210 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนทั้งหมด
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงขั้นตอนในการขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนให้รวดเร็วขึ้น จากเดิมที่มีขั้นตอนยุ่งยากและใช้ระยะเวลากว่า 3 เดือน ให้ลดระยะเวลาเหลือ 2 เดือน
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในปี 2551 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้จ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้าง จำนวน 3,356 คน คิดเป็นเงิน 22.5 ล้านบาท ส่วนการติดตามทวงหนี้จากนายจ้างที่ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ได้เพียง 40 ล้านบาท จากทั้งหมดกว่า 210 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนทั้งหมด